บทที่ 3
การเกิดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่
อุดมการณ์ของคณะราษฎรที่ต้องการสร้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและทรงอยู่เหนือการเมืองตามต้นแบบประเทศอังกฤษ เพื่อความวัฒนาถาวรของประเทศชาติเป็นอันสิ้นสุด เมื่อฝ่ายนิยมเจ้ารวมตัวกันจัดตั้งพรรคประชาธิปัตย์และทำแนวร่วมกับฝ่ายจอมพล ป. โดยอาศัยเหตุลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 เมื่อ 9 มิถุนายน 2489 ทำรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 โค่นล้มอำนาจฝ่ายปรีดี พนมยงค์ ศัตรูร่วม โดยป้ายสีว่าเป็นผู้วางแผนลอบปลงพระชนม์เพื่อจะสถาปนาระบอบมหาชนรัฐ นับแต่นั้นก็เป็นจุดเริ่มต้นการก่อตัวของระบอบประชาธิปไตยพิกลพิการที่เรียกว่า “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่”
3.1 ความขัดแย้ง เจ้า-คณะราษฎร
การปฏิวัติของคณะราษฎร เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 เป็นการโค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชโดยเปลี่ยนฐานะจากกษัตริย์ในฐานะเจ้ามหาชีวิตที่อยู่เหนือกฎหมาย กลายมาเป็นเพียงประมุขแห่งรัฐโดยมีฐานะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเสมือนประชาชนทั่วไป เป็นความโกรธแค้นของฝ่ายกษัตริย์และราชวงศ์อย่างยิ่ง อีกทั้งคณะราษฎรก็ได้ออกประกาศฉบับที่ 1 เปิดโปงความจริงที่ชั่วร้ายของกษัตริย์และราชวงศ์ ว่าทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร มีการรับสินบนในการก่อสร้าง และซื้อของใช้ในราชการ กดขี่ข่มเหงราษฎร ปล่อยให้ราษฎรทุกข์ยากลำบาก แต่พวกเจ้ากลับนอนกินกันเป็นสุข คำประกาศดังกล่าวได้ตอกย้ำถึงความขัดแย้งระหว่างฝ่ายเจ้าและคณะราษฎรที่ไม่อาจประนีประนอมได้ และในปีรุ่งขึ้น(ปลายปี 2476) ฝ่ายเจ้าภายใต้การนำของพล.อ.พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นแม่ทัพใหญ่ และพ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม(นายดิ่น ท่าราบ)
Ù เป็นรองแม่ทัพ ก็ได้รวบรวมกำลังทหารหัวเมืองโดยใช้เมืองนครราชสีมาเป็นศูนย์กลางภายใต้ชื่อ “คณะกู้บ้านกู้เมือง” ยกกำลังมาทางรถไฟบุกเข้าพระนคร ฝ่ายคณะราษฎรมี พ.ท.หลวง พิบูลสงคราม(จอมพล ป.พิบูลสงคราม) เป็นผู้อำนวยการฝ่ายปราบปราม เกิดการปะทะกันที่ทุ่งดอนเมือง ฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดชเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม ตายในที่รบ “คณะกู้บ้านกู้เมือง” จึงถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ว่า “กบฏบวรเดช” และได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ปราบกบฏไว้เป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะของคณะราษฎร โดยเรียกชื่อว่าอนุสาวรีย์ปราบกบฏ (ปัจจุบันถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนใจฝ่ายเจ้าว่า “อนุสาวรีย์หลักสี่” ซึ่งตั้งอยู่ที่สี่แยกหลักสี่)
หลังจากฝ่ายกบฏบวรเดชพ่ายแพ้ คณะราษฎรก็ได้ทำการกวาดล้างขุมกำลังของฝ่ายเจ้าโดยจับกุมดำเนินคดีผู้เกี่ยวข้องและต้องสงสัยเป็นจำนวนมากส่งฟ้องศาล 346 คน มีการตั้งศาลพิเศษตัดสินลงโทษในขั้นต่างๆ 250 คน และที่ไม่ถูกลงโทษจากศาลแต่ถูกปลดออกจากราชการมากถึง 117 คน(กจช.(2) สช.0201.4/8) และจากเหตุการณ์นี้ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลคณะราษฎรกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ไม่ราบรื่นอยู่แล้วต้องเลวร้ายหนักขึ้นอีก โดยฝ่ายคณะราษฎรมีความเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เป็นผู้สนับสนุนกบฏบวรเดช และอยู่เบื้องหลังการวางแผนโค่นล้มรัฐบาล
Ù ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ สละราชสมบัติ (เมื่อ 2 มีนาคม 2477)
ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายเจ้ากับคณะราษฎรแสดงให้เห็นเด่นชัดในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2475(ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของไทย ประกาศใช้ 10 ธันวาคม 2475) มาตรา 11 กำหนดห้ามพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และในยุคที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วก็ได้ยกเลิกบรรดาศักดิ์แบบขุนนางในวัฒนธรรมของศักดินาทั้งหมดโดยเมื่อ 6 ธันวาคม 2484 คณะรัฐบาลภายใต้การนำของจอมพล ป.ได้ลาออกจากบรรดาศักดิ์ทั้งหมดเป็นตัวอย่าง และต่อมาเดือนพฤษภาคม 2485 ก็มีประกาศพระบรมราชโองการยกเลิกบรรดาศักดิ์ทั่วประเทศ(ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 59: 1089) นับแต่นั้นจึงมีการเปลี่ยนชื่อนามสกุลกันมาก บุคคลสำคัญที่เปลี่ยนชื่อนามสกุลได้แก่
จอมพล หลวงพิบูลสงคราม
เป็น
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม
เป็น
นายปรีดี พนมยงค์
พล.ต.ต.หลวงอดุลเดชจรัส
เป็น
พล.ต.ต.อดุล อดุลเดชจรัส
หลวงโกวิทอภัยวงศ์
เป็น
นายควง อภัยวงศ์
พล.ร.ท.หลวงสินธุสงครามชัย
เป็น
พล.ร.ท.สินธุ์ กมลนาวิน
พล.ต.พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ
เป็น
พล.ต.เภา เพียรเลิศ
บริภัณฑ์ยุทธกิจ
พล.อ.ต.พระเวชยันตรังสฤษฎ์
เป็น
พล.อ.ต.มุนี มหาสันทนะ
เวชยันตรังสฤษฎ์
หลวงนฤเบศร์มานิต
เป็น
นายสงวน จูฑะเตมีย์
น.อ.หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์
เป็น
น.อ.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
พล.ท.หลวงพรมโยธี
เป็น
พล.ท.มังกร พรหมโยธี
พล.ท.หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต
เป็น
พล.ท.พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต
พล.ท.พระยาพหลพลพยุหะเสนา
เป็น
พล.ท.พจน์ พหลโยธิน
พ.อ.ขุนปลดปรปักษ์
เป็น
พ.อ.ปลด ปลดปรปักษ์
พิบูลภานุวัธน์
หลวงวิจิตรวาทการ
เป็น
นายวิจิตร วิจิตรวาทการ
พระยาศรีเสนา
เป็น
นายศรีเสนา สมบัติศิริ
ฯลฯ
3.2 คณะราษฎรล้างอำนาจกษัตริย์ไม่เสร็จสิ้น
แม้พัฒนาการทางการผลิตของสังคมไทยในขณะนั้นจะได้ก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมแล้ว แต่ยังเป็นระยะเริ่มต้น
Ù ราษฎรส่วนใหญ่ยังเป็นเกษตรกร ดำรงชีวิตด้วยการผลิตเพื่อบริโภคเป็นหลัก มิใช่ผลิตเพื่อเป็นสินค้า เป็นวิถีชีวิตการผลิตแบบพออยู่พอกิน(ซึ่งก็คือวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่กล่าวติดปากกันอยู่ในปัจจุบัน) และวัฒนธรรมความคิดของราษฎรส่วนใหญ่ ยังติดยึดอยู่กับระบบเจ้าขุนมูลนายและความเชื่อเรื่องบุญทำกรรมแต่ง โดยเชื่อว่าความยากจนในชาตินี้เป็นผลมาจากชาติที่แล้ว ราษฎรส่วนใหญ่ยังไม่มีความเข้าใจต่อเรื่องสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคทางสังคม ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ผู้ที่เข้าใจและต้องการเห็นความเสมอภาคทางสังคมจึงเป็นคนส่วนน้อยในขณะนั้น ด้วยเหตุนี้เองการปฏิวัติของคณะราษฎรจึงยังไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของกษัตริย์ได้อย่างถอนรากถอนโคน ซึ่งแตกต่างจากการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส, รัสเซีย และจีน ที่ล้มสถาบันกษัตริย์อย่างสิ้นซาก เมื่อคณะราษฎรโค่นล้มอำนาจกษัตริย์ลงได้เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ก็มีการประนีประนอมกับฝ่ายเจ้าในเรื่องการใช้ธรรมนูญการปกครอง และการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนแรกโดยเริ่มตั้งแต่เปลี่ยนฐานะของธรรมนูญการปกครองฉบับแรกที่ร่างโดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์) ที่คณะราษฎรมุ่งที่จะนำมาใช้เป็นธรรมนูญการปกครองฉบับถาวรที่เหมือนกับการปฏิวัติใหญ่เปลี่ยนแปลงการปกครองทั่วไป กล่าวคือ ตามร่างเดิมไม่มีคำว่า “ชั่วคราว” แต่เมื่อทูลเกล้าถวายต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ พระองค์ได้เติมด้วยลายพระหัตถ์ว่า “ชั่วคราว”
Ùลงไปซึ่งคณะราษฎรก็ยินยอมเป็นผลให้ต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดยตั้งคณะกรรมการร่วมกันระหว่างฝ่ายคณะราษฎรกับฝ่ายเจ้า และมีการมอบรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกเมื่อ 10 ธันวาคม 2475(และหลังจากนั้นมาก็มีการฉีกรัฐธรรมนูญ และร่างใหม่เป็นของเล่น) และหนึ่งในคณะกรรมการการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นตัวแทนของฝ่ายเจ้าก็ได้รับความเห็นชอบให้มาเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
เมื่อมีการประนีประนอมอำนาจการเมืองกันเช่นนี้การถอนรากถอนโคนทางอำนาจที่จะกระทำต่อฝ่ายเจ้าด้วยการยึดทรัพย์อันเป็นฐานอำนาจทางเศรษฐกิจ เป็นฐานอำนาจที่แท้จริงของฝ่ายเจ้าจึงไม่เกิดขึ้น ดังนั้นแม้ความขัดแย้งทางอำนาจระหว่างฝ่ายคณะราษฎรกับฝ่ายเจ้ายังดำรงอยู่โดยคณะราษฎรมีอำนาจเป็นด้านหลักในฐานะเป็นฝ่ายกระทำในระยะเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ไม่อาจจะทำลายฐานอำนาจของฝ่ายเจ้าได้ และด้วยสภาวะทางสังคมดังกล่าวข้างต้น เป็นผลทำให้แนวคิดอุดมการณ์ทางการเมือง ที่คณะราษฎรมุ่งหวังให้ระบบการปกครองของไทยเป็นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแบบอังกฤษ โดยกษัตริย์และราชวงศ์ทรงอยู่เหนือการเมืองจึงเป็นไปได้โดยยาก ด้วยวัฒนธรรมของไทยยังติดยึดอยู่กับความเชื่อเรื่องชนชั้นวรรณะ เป็นเรื่องของบาปบุญจากชาติปางก่อน อันเป็นผลจากระบบเศรษฐกิจการผลิตแบบศักดินาที่ผลิตแบบพออยู่พอกินพึ่งพิงธรรมชาติ ซึ่งแม้นายปรีดี พนมยงค์ จะได้เห็นปัญหาทางวัฒนธรรมที่ไม่เอื้อต่อระบอบประชาธิปไตยเช่นนี้และพยายามจะสร้างคนรุ่นใหม่ที่ตื่นตัวต่อสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค อันเป็นวัฒนธรรมใหม่ซึ่งเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตย ด้วยการตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้น
Ùแต่แล้วก็ไม่อาจจะขัดขวางการฟื้นตัวทางอำนาจของฝ่ายเจ้าที่พัฒนาขึ้นมาเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่ เช่นทุกวันนี้ได้
3.3 ความขัดแย้งของคณะราษฎรเปิดเงื่อนไขเจ้าฟื้นอำนาจ
เมื่อจอมพล ป.พิบูลสงคราม เข้ามามีอำนาจทางการเมืองในระยะแรกก็ยังยืนยันในแนวทางการปฏิวัติของคณะราษฎร โดยร่วมมือกับแกนนำของคณะราษฎร คือ นายปรีดี พนมยงค์ ในการปิดกั้นการขยายตัวทางอำนาจของฝ่ายเจ้า แต่เมื่อครองอำนาจนานเข้าจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ลุแก่อำนาจมากขึ้นจนผิดแนวทางกลายเป็นผู้เผด็จการด้วยการสร้างรัฐทหารให้เข้มแข็งจนเกิดความขัดแย้งกับฝ่ายประชาธิปไตยพลเรือนที่มีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นแกนนำ
เหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ญี่ปุ่นประกาศตัวเป็นฝ่ายอักษะและยกกำลังบุกเอเชียโดยผ่านประเทศไทยโดยฝ่ายจอมพล ป.ได้ประกาศตัวร่วมรบกับฝ่ายญี่ปุ่น และประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร เหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลให้คณะราษฎรที่มีความขัดแย้งภายในอยู่เดิมแล้ว กลายเป็นความแตกแยกและเป็นศัตรูกัน โดยฝ่ายจอมพล ป.ในฐานะรัฐบาลเข้ากับฝ่ายญี่ปุ่นซึ่งเป็นฝ่ายอักษะ และฝ่ายนายปรีดีได้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยโดยเคลื่อนไหวต่อต้านญี่ปุ่นและรัฐบาลจอมพล ป.ในประเทศไทย ซึ่งการต่อต้านญี่ปุ่นในขณะนั้นเป็นกระแสแนวคิดของฝ่ายเสรีนิยมที่ไม่ชอบระบอบอำนาจรัฐทหาร ดังนั้นคนไทยในต่างประเทศโดยเฉพาะที่อังกฤษและสหรัฐอเมริกาก็เกิดการรวมตัวกันต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป.และญี่ปุ่นด้วย โดยมีฝ่ายเจ้าที่ไปศึกษาต่อในต่างประเทศเป็นแกนนำ ตรงจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์นี้เองจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นอำนาจของฝ่ายเจ้าอย่างเป็นฝ่ายกระทำ โดยพวกเชื้อพระวงศ์ในต่างประเทศได้จัดตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยการนำของมรว.เสนีย์ ปราโมช ขบวนการเสรีไทยในอังกฤษโดยมีหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัฒน์ พระเชษฐาของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี(พระราชินีในรัชกาลที่ 7) เป็นหัวหน้าคณะ ส่วนขบวนการเสรีไทยในประเทศไทยหัวหน้าคณะก็คือนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 ในขณะนั้น
เมื่อเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งญี่ปุ่นเป็นผู้แพ้สงครามเป็นผลให้อำนาจของรัฐทหารของจอมพล ป.ต้องอ่อนตัวลง จอมพล ป. พิบูลสงคราม กลายเป็นอาชญากรสงคราม โครงสร้างอำนาจทางการเมืองใหม่จึงเป็นของฝ่ายเสรีไทยซึ่งเป็นฝ่ายปรีดีและฝ่ายเจ้าเป็นผู้นำ
เหตุการณ์สำคัญในสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปี 2487 เกิดขึ้นเมื่อ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ลาออกจากนายกรัฐมนตรี เมื่อ 24 กรกฎาคม 2487 โดยหวังว่าเสียงส่วนใหญ่ในสภาจะเลือกจอมพล ป.พิบูลสงคราม กลับมาใหม่ แต่เสียง ส.ส.ในสภาในส่วนของปรีดี พนมยงค์ ได้ผนึกกำลังกับฝ่ายเจ้าเลือกนายควง อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี(ขณะนั้นยังไม่ได้ตั้งพรรคประชาธิปัตย์) โดยนายปรีดี พนมยงค์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์รัชกาลที่ 8 เป็นผู้ลงนามแต่งตั้งนายควง อภัยวงศ์ และรัฐบาลได้เสนอญัตติด่วนเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่สภาเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2488 โดยมีสาระที่สำคัญคือ ให้ยกเลิกมาตรา 11 ที่ว่าด้วยการห้ามพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
จุดการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญที่เปิดทางให้ฝ่ายเจ้าเข้าสู่การเมืองได้นี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของการฟื้นอำนาจของฝ่ายเจ้า ที่พัฒนาขบวนการกลับมาสู่อำนาจที่เข้มแข็งอีกครั้งหนึ่งจนกลายเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่ที่ขัดขวางพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยอยู่ในขณะนี้
3.4 กรณีลอบปลงพระชนม์ : จากวิกฤตเป็นโอกาส
ในภาวะการณ์ที่ฝ่ายคณะราษฎรเกิดความแตกแยกกันระหว่างฝ่ายทหารจอมพล ป.พิบูลสงคราม กับฝ่ายของปรีดี พนมยงค์ แต่ด้วยนายปรีดีมีความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยและมีสายตาที่ยาวไกลกว่าจึงได้จัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นก่อนเพื่อเตรียมการเคลื่อนมวลชนระดมสมาชิกเพื่อปูทางสู่ชัยชนะในการเลือกที่นายปรีดีเตรียมการผลักดันให้สังคมไทยก้าวเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์แบบ จึงถือเป็นพรรคการเมืองที่เป็นทางการเป็นครั้งแรกในนามพรรคสหชีพและส่งผู้สมัคร ส.ส.ในนามพรรคในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2489 ฝ่ายเจ้าก็จัดตั้งพรรคการเมืองเข้าต่อสู้ในนามพรรคประชาธิปัตย์(จัดตั้งเมื่อ 6 เมษายน 2489 ซึ่งตรงกับวันจักรี) โดยมีแกนนำสำคัญคือ นายควง อภัยวงศ์ และพี่น้องราชสกุลปราโมช และในการก้าวเข้าสู่การเมืองของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นั้นก็ได้ประกาศนโยบายชัดแจ้งว่า “จะแอนตี้พวกผู้ก่อการ 2475 ทุกวิถีทาง”
Ùและมรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เองก็ได้ประกาศเจตนารมณ์ด้วยการเขียนบทความลงในหนังสือประชามิตร(12 ธันวาคม 2488) เรื่อง“ข้าพเจ้าเป็นรอยะลิสต์” โดยยอมรับว่าตนเองเป็นฝ่ายเจ้าและไม่พอใจพวกคณะราษฎร ดังนั้นการปรากฏตัวของพรรคประชาธิปัตย์จึงเป็นสัญญาณบ่งชี้ให้เห็นถึงการฟื้นอำนาจทางการเมืองของฝ่ายเจ้าที่ขยายเติบใหญ่ขึ้นอย่างเป็นระบบนับตั้งแต่ต้องเพลี่ยงพล้ำจากการยึดอำนาจของกลุ่มสามัญชนที่ใช้นามว่า “คณะราษฎร” และเพียงสองเดือนหลังจากนั้นก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดหมายมาก่อนคือกรณีสวรรคตของพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ด้วยพระแสงปืน(เมื่อเช้าของวันที่ 9 มิถุนายน 2489) ซึ่งกลายเป็นวิกฤตการณ์ทางการเมืองในขณะนั้นด้วยเพราะเป็นเงื่อนงำที่ยากแก่การไขปริศนาในขณะนั้น และต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงทุกวันนี้ว่าสาเหตุที่แท้จริงเป็นอุบัติเหตุหรือการลอบปลงพระชนม์กันแน่
จากการวินิจฉัยเหตุการณ์ครั้งแรกในวันนั้น ระหว่างอธิบดีกรมตำรวจ อธิบดีกรมการแพทย์ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีมหาดไทย พร้อมด้วยเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ เช่น กรมขุนชัยนาทนเรนทร พระราชชนนี พระราชอนุชา ต่างก็มีความเห็นว่ากรณีนี้เป็นอุบัติเหตุ ดังนั้นสำนักพระราชวังจึงเป็นผู้ออกแถลงการณ์เมื่อ 9 มิถุนายน 2489 มีข้อความว่า “ได้ความสันนิษฐานว่าคงจะจับคลำพระแสงปืนตามพระราชอัฌชาศัยที่ทรงชอบ แล้วเกิดอุบัทวเหตุขึ้น”
Ù แต่ปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้ใช้กรณีนี้มาเป็นประเด็นการเมืองเพื่อทำลายศัตรูทางการเมืองของฝ่ายเจ้าคือ นายปรีดี พนมยงค์
Ù บทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ในปี 2489 ไม่ต่างจากบทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ในปัจจุบันที่ใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือในการทำลายศัตรูทางการเมืองที่ตนไม่อาจเอาชนะทางการเมืองได้คือกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ในขณะนั้นพรรคประชาธิปัตย์ได้ใช้เหตุการณ์สวรรคตกล่าวโจมตีว่าเป็นเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์ โดยตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์อิทธิพลของนายไถง สุวรรณทัต สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เป็นฉบับแรก และตามติดด้วยการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เกียรติศักดิ์ หนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย หนังสือพิมพ์เสรีÙÙ และพรรคประชาธิปัตย์ได้ใช้ประเด็นนี้ขยายพลกลายมาเป็นการโจมตีรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์ และนำประเด็นนี้ไปปราศรัยหาเสียงปลุกปั่นให้เป็นความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์ โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และนายเลียง ไชยกาล(ส.ส.ประชาธิปัตย์ในขณะนั้น) ได้ใช้ให้คนไปตะโกนในโรงภาพยนตร์ว่า “ปรีดีฆ่าในหลวง”
Ù ในที่สุดจากแถลงการณ์สำนักพระราชวังว่าเป็นเรื่องอุบัติเหตุก็ได้กลายเป็นกรณีลอบปลงพระชนม์โดยมีการจับตัวผู้ต้องสงสัยคือทหารมหาดเล็กในวังที่เฝ้าห้องบรรทมและพรรคพวกขึ้นศาลสืบพยานและขยายผลเป็นประเด็นการเมือง ทำลายฐานการเมืองของฝ่ายปรีดี พนมยงค์ โดยพระพินิจชนคดี พี่เขยของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ปั้นพยานเท็จขึ้นโดยจ้างนายตี๋ ศรีสุวรรณ เป็นผู้ยืนยันให้การว่าเห็นเหตุการณ์การวางแผนลอบปลงพระชนม์ของนายปรีดี พนมยงค์ และศาลได้ตัดสินประหารชีวิตมหาดเล็กที่เฝ้าห้องบรรทม 2 คน คือนายชิต สิงหเสนี, นายบุศย์ ปัทมศริน และบุคคลภายนอกคือ นายเฉลียว ปทุมรส ที่ถูกป้ายสีว่าเป็นผู้ใกล้ชิดนายปรีดี ซึ่งต่อมาก่อนที่นายตี๋ ศรีสุวรรณ จะถึงแก่ความตายด้วยโรคชราก็เกรงกลัวบาปจึงได้ไปสารภาพผิดโดยทำบันทึกเป็นเอกสารต่อท่านปัญญานันทภิกขุ เจ้าอาวาสวัดชลประทาน เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2522 โดยสารภาพว่าพระพินิจชนคดี(อธิบดีกรมตำรวจ และเป็นพี่เขยของมรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช)ได้เกลี่ยกล่อมว่าจะให้เงินเลี้ยงนายตี๋จนตาย โดยจะให้เงินจำนวน 20,000 บาท แต่เมื่อให้การแล้ว พระพินิจได้ให้เงินเพียง 500-600 บาท และให้นายตี๋กินอยู่หลับนอนอยู่ที่สันติบาลประมาณสองปีเศษ
Ù3.5 วิกฤตสวรรคตสู่รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490
จากวิกฤตกรณีสวรรคตของพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้ถูกพรรคประชาธิปัตย์ฉกชิงไปขยายผลเป็นประเด็นทางการเมือง เพื่อทำลายศัตรูทางการเมืองคือนายปรีดี พนมยงค์ และพวก ซึ่งเป็นที่ชิงชังของฝ่ายเจ้ากลายเป็นภาวะวิกฤตทางสังคม และจากสภาวะความปั่นป่วนทางการเมืองในขณะนั้นที่กลุ่มทหารภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งอ่อนกำลังลงไปจากกรณีญี่ปุ่นมิตรร่วมรบของรัฐบาลทหารจอมพล ป.พิบูลสงคราม ต้องแพ้ในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ต้องการช่วงชิงอำนาจรัฐกลับคืนมา จึงได้ทำแนวร่วมกับฝ่ายเจ้าที่เห็นว่าปรีดี พนมยงค์ เป็นศัตรูหลัก ฝ่ายทหารของจอมพล ป.จึงจับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ที่มีแนวคิดนิยมเจ้าทำการยึดอำนาจในเวลา 21.00 น. ของวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ภายใต้การนำของจอมพลผิน ชุณหะวัณ เมื่อทำการยึดอำนาจสำเร็จแล้วก็ตั้งให้นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาล
3.6 ความเหมือนคล้ายรัฐประหาร 8 พ.ย. 90 กับ 19 ก.ย.49
การรัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 มีสถานการณ์ที่เหมือนคล้ายกับการยึดอำนาจเมื่อ 19 กันยายน 2549 ในสถานการณ์ทางการเมือง สภาพแวดล้อมของสังคมโลก และตัวละครของพรรคการเมืองคู่กรณี ดังนั้นในที่นี้ผู้เขียนขอนำเหตุการณ์บางประการที่เหมือนคล้ายกันมาเพื่อศึกษาเป็นบทเรียน และเพื่อประโยชน์ต่อผู้สนใจที่จะศึกษามองอนาคตของการเมืองไทยต่อไป ดังนี้
1.มีเหตุการณ์ที่รุนแรงเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ กล่าวคือในปี 2489 พรรคประชาธิปัตย์โจมตีใส่ร้ายนายปรีดี พนมยงค์ ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการวางแผนลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 จนเป็นเหตุให้เกิดการโค่นล้มรัฐบาลนายเถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์ กลุ่มอำนาจของฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์ และนายปรีดี พนมยงค์ ต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศจนจบชีวิตลงในต่างประเทศ ส่วนในเหตุการณ์ปัจจุบันกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์จัดการชุมนุมเคลื่อนไหวโจมตีว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร วางแผนโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ในภาวะที่สถาบันกำลังเกิดวิกฤตค่อนข้างรุนแรงอันเป็นผลจากอายุและสุขภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ที่ทรงเจริญพระชนมายุมากแล้ว และสุขภาพไม่ดีซึ่งเป็นภาวะของการใกล้ที่จะผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน จนในที่สุดก็เกิดการยึดอำนาจรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อ 19 กันยายน 2549 โดยใส่ร้ายพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต่างๆ นาๆ และสุดท้ายพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศ เพียงแต่ปัจจุบันละครการเมืองยังไม่จบ บทสุดท้ายของเหตุการณ์จึงยากที่จะทำนาย
2. ทหารจับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ เหตุการณ์รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 มีกลุ่มทหารร่วมมือกับพรรคประชาธิปัตย์ ทำการยึดอำนาจและหนุนให้นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและอยู่ได้ไม่พอ 6 เดือน นายควงก็ถูกทหารใช้ปืนจี้ให้ออกจากนายกฯ แล้วเชิญจอมพล ป.กลับมาเป็นนายกฯ แทน เหตุการณ์การเมืองปัจจุบันตัวละครก็ยังเป็นกลุ่มทหารโดยใช้ชื่อว่า คมช.ร่วมกันกับพรรคประชาธิปัตย์ และหนุนให้นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเหมือนกัน แต่จะจบลงเหมือนกับ นายควง อดีตหัวหน้าพรรคหรือไม่ยังไม่อาจจะทราบได้
3. ทำลายรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลของกลุ่มอำนาจนายปรีดี พนมยงค์ ในปี 2490 เป็นรัฐบาลประชาธิปไตยของฝ่ายพลเรือนที่ได้อำนาจมาโดยชอบและเป็นที่ชื่นชมของประชาชน เนื่องจากเป็นรัฐบาลของกลุ่มขบวนการเสรีไทยภายในประเทศที่ต่อต้านการยึดครองของญี่ปุ่นที่ร่วมมือกับกลุ่มทหารจอมพล ป.พิบูลสงคราม และได้รับความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ ซึ่งขณะนั้นประเทศมหาอำนาจเป็นรัฐบาลของฝ่ายสัมพันธมิตรที่เป็นฝ่ายชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงให้การสนับสนุนรัฐบาลที่มาจากขบวนการเสรีไทย ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เป็นรัฐบาลประชาธิปไตยของฝ่ายพลเรือนที่ได้มาตามรัฐธรรมนูญของประชาชน ปี 2540 โดยสมบูรณ์แบบที่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ ด้วยอยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ และเป็นที่นิยมของประชาชน ดังนั้นการยึดอำนาจของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ทั้งสองครั้งนี้ จึงเป็นที่จับตามองของประเทศมหาอำนาจมาก ผู้ยึดอำนาจจำเป็นต้องเล่นละครหลอกลวงชาวโลกและประชาชนไทยให้เป็นไปอย่างแนบเนียน ด้วยเหตุนี้ในเหตุการณ์ยึดอำนาจเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 ฝ่ายทหารจึงต้อง อำพรางภาพลักษณ์ของเผด็จการเพื่อมิให้เกิดการบาดหูบาดตาประเทศมหาอำนาจ เพราะจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็พึ่งหลุดจากคดีอาชญากรสงครามมาไม่นาน ด้วยเหตุนี้คณะรัฐประหารจึงได้เชิญนายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในลักษณะที่ว่าคณะรัฐประหารนั้นไม่ต้องการอำนาจทางการเมือง แต่ก่อการยึดอำนาจเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศโดยแท้จริง ปรากฏหลักฐานตามที่จอมพลผิน ชุณหะวัณ ได้เล่าไว้ในหนังสืออนุสรณ์งานศพ หน้า 88 ว่า
“วันที่ 9 พฤศจิกายน 2490 ได้ประชุมคณะรัฐประหารชั้นผู้ใหญ่มี จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นประธานพิจารณาจัดตั้งรัฐบาลใหม่ในที่ประชุมเห็นว่านายควง อภัยวงศ์ ซึ่งเป็นฝ่ายค้านได้เปิดอภิปรายทั่วไปโจมตีรัฐบาลปัจจุบันในรัฐสภา โดยใช้เครื่องกระจายเสียงเปิดการอภิปรายของฝ่ายค้าน ให้ราษฎรได้ฟังทั่วประเทศ ทำให้ราษฎรได้ทราบความบกพร่องของรัฐบาลอย่างมากมาย เพื่อเป็นการสนองพรรคฝ่ายค้าน ที่ประชุมจึงลงมติเอกฉันท์ให้ตั้งนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี”
Ù เหตุการณ์การเมืองในปัจจุบันนี้ก็คล้ายคลึงกัน ผู้ทำรัฐประหารก็พยายามผลักดันให้หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อ 23 ธันวาคม 2550 โดยผ่านกระบวนการของรัฐบาลชั่วคราว พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีที่มาจากองคมนตรี ซึ่งเป็นรัฐบาลของฝ่ายเจ้าอย่างชัดเจนมาเป็นผู้สนับสนุนปูทางให้ แต่สถานการณ์โลกและความคิดของประชาชนแตกต่างไปจากเหตุการณ์ในอดีตมาก จึงทำให้แผนการสร้างภาพฝ่ายตัวละครพรรคประชาธิปัตย์จึงไม่สัมฤทธิ์ผล พรรคประชาธิปัตย์จึงไม่สามารถเอาชนะพรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มอำนาจของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ และล่าสุดฝ่ายรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ยังใช้ความพยายามโค่นล้มรัฐบาลของกลุ่มพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อีกด้วยการสมคบกันให้กลุ่มพันธมิตรฯ ออกปลุกระดมเคลื่อนไหวประชาชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจากภาคใต้ซึ่งเป็นฐานของพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาก่อการจลาจลเป็นเวลานานกว่าหกเดือนโดยยึดถนนราชดำเนิน ทำเนียบรัฐบาล สนามบินสุสวรรณภูมิสนามบินดอนเมือง สนามบินภูเก็ต สนามบินหาดใหญ่ และสมคบกับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ จนรัฐบาลกลุ่มพ.ต.ท.ทักษิณ ต้องล้มคว่ำไปถึง2 รัฐบาล คือ รัฐบาลภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และสุดท้ายพวกทหารก็แสดงบทบาทอย่างออกหน้าออกตาเป็นนายหน้าของฝ่ายวังหนุนให้หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีจนได้ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 15 ธันวาคม 2551
4.คนใกล้ชิดปรีดี พนมยงค์ หลวงกาจสงคราม(พ.อ.กาจ การสงคราม) คนใกล้ชิดปรีดี พนมยงค์ ทรยศโดยย้ายฝากอำนาจไปอยู่กับฝ่ายเจ้าและกล่าวโจมตีว่าปรีดีคิดการใหญ่จะจัดตั้งระบอบสาธารณรัฐ และตั้งตัวเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี เป็นกรณีคล้ายกับกรณีนายเนวิน ชิดชอบ คนใกล้ชิดพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ทรยศย้ายข้างไปอยู่ฝ่ายทหารและพรรคประชาธิปัตย์ ฝ่ายเจ้าโดยร่วมสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อโค่นล้มฝ่ายพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และที่ขาดไม่ได้ก็โจมตีพ.ต.ท.ทักษิณ ว่าคิดการใหญ่คล้ายกับเหตุการณ์ที่เกิดกับนายปรีดี พนมยงค์
เหตุการณ์ในครั้งนั้น หลวงกาจสงครามเป็นคนหนึ่งในคณะเสรีไทยโดยร่วมมือกับปรีดี พนมยงค์ ในการตั้งขบวนการต่อต้านญี่ปุ่น โดยยอมลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีเมื่อตุลาคม 2486 เป็นตัวแทนเสรีไทยเดินทางไปประเทศจีน และเมื่อสงครามยุติแล้วหลวงกาจสงครามก็ร่วมกับปรีดี พนมยงค์ ก่อตั้งพรรคสหชีพ ซึ่งเป็นพรรคที่ก้าวหน้าที่มีนโยบายเป็นประชาธิปไตยของฝ่ายพลเรือนในขณะนั้น แต่ภายหลังจากเกิดกรณีวิกฤต กรณีสิ้นพระชนม์ของรัชกาลที่ 8 โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าหลวงกาจสงครามได้แกล้งให้ร้ายปรีดี พนมยงค์ ว่ามีแผนการจัดตั้งมหาชนรัฐ(ในความหมายปัจจุบันก็คือการโจมตีว่าจะล้มสถาบันกษัตริย์ จัดตั้งสาธารณรัฐนั่นเอง) โดยจะยึดอำนาจทั่วประเทศไปสู่มหาชนรัฐ เมื่อคณะทหารทราบเข้าจึงปฏิวัติตัดหน้า(หนังสือพิมพ์เสรีภาพ 18 พฤศจิกายน 2490 อ้างในสุธาชัย ยิ้มเจริญ หน้า 114,แผนชิงชาติไทย)
3.7 ทำลายระบอบรัฐธรรมนูญ ฟื้นระบอบกษัตริย์
รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 เป็นจุดเริ่มต้นของการทำลายระบอบรัฐธรรมนูญและฟื้นระบอบกษัตริย์
ความมุ่งมั่นของคณะราษฎรที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองต้องการจะพลิกจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม โดยให้ความสำคัญกับระบอบรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดการสถาปนาลัทธิรัฐธรรมนูญขึ้น โดยยกรัฐธรรมนูญให้มีฐานะสูงเด่นเป็นสัญลักษณ์แห่งชาติมาแทนที่สถาบันกษัตริย์ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งชาติอยู่เดิม โดยคณะราษฎรได้ให้การศึกษาประชาชนโดยส่งกลุ่มปาฐกถาเดินทางไปยังจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ เพื่อเผยแพร่ระบอบรัฐธรรมนูญ นำรูปภาพรัฐธรรมนูญไปแจกตามหมู่บ้านห่างไกล และเอาตัวบทรัฐธรรมนูญไปแจกข้าราชการอำเภอ ครู กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จากนั้นก็จัดให้มีการจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญเป็นประจำทุกปี และพยายามสร้างสัญลักษณ์รัฐธรรมนูญขึ้นเพื่อให้อยู่ในใจของประชาชน เช่น การสร้างอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญที่ถนนราชดำเนิน
Ù(ที่เรียกว่าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในปัจจุบัน) และได้สร้างอนุสาวรีย์ปราบกบฏ โดยมีรูปพานรัฐธรรมนูญเป็นสัญลักษณ์ หลังจากได้ชัยชนะจากการปราบกบฏบวรเดชซึ่งเป็นการปราบปรามการลุกขึ้นสู้ของฝ่ายเจ้าเมื่อปี 2476
การรัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 นั้นถือได้ว่าเป็นการสร้างวัฒนธรรมฉีกรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกเพราะก่อนหน้านั้นแม้จะมีการยึดอำนาจแต่ก็ไม่มีการฉีกรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญที่ถูกฉีกนี้ก็เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของไทยที่ร่างขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองและประกาศใช้เมื่อ 10 ธันวาคม 2475 ในปีปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งใช้มาประมาณ 15 ปี โดยคณะราษฎรมีความมุ่งหมายที่จะให้ระบอบรัฐธรรมนูญมีความมั่นคงให้ประชาชนยึดถือเป็นระบอบกฎหมายสูงสุดตลอดไป ให้เป็นรากฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเหมือนกับที่เกิดขึ้นในอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ที่มีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับดั้งเดิมมาเป็นเวลานานกว่าสองร้อยปี โดยกลายเป็นวัฒนธรรมความเชื่อซึมอยู่ในสายเลือดของประชาชนที่ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมนั้นๆ
จากความเห็นของสุธาชัย ยิ้มเจริญ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บันทึกในหนังสือแผนชิงชาติไทย หน้า 102 เห็นว่า “ความจริงแล้วนัยยะของลัทธิรัฐธรรมนูญที่คณะราษฎรพยายามเสนอและผลักดัน ส่วนหนึ่งก็เป็นการลดความสำคัญของพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์แห่งชาติที่ตกค้างมาจากยุคสมบูรณาญาสิทธิราช ด้วยเหตุนี้การพังทลายของรัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์แห่งชาติ ก็เท่ากับเป็นการรื้อฟื้นความสำคัญของพระมหากษัตริย์ให้สูงเด่นขึ้น”
ดังนั้นการรัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 จึงมิใช่เป็นเพียงการช่วงชิงอำนาจทางการเมืองโดยความร่วมมือกันของฝ่ายทหาร กับพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น แต่เนื้อแท้คือการทำลายแนวคิดประชาธิปไตยของคณะราษฎรโดยการทำลายระบอบรัฐธรรมนูญเพื่อพลิกฟื้นอำนาจของฝ่ายเจ้าให้กลับคืนมาทั้งหมด และเป็นจุดเริ่มต้นของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่ที่ทรงอำนาจ และบดทำลายระบอบประชาธิปไตยอยู่ในขณะนี้
จากความเห็นของสุธาชัย ยิ้มเจริญ ใน แผนชิงชาติไทยหน้า 103 อ้างถึงหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ 29 พฤศจิกายน 2490 ว่า
คณะรัฐประหารจึงได้นำความสัมฤทธิผลมาสู่กลุ่มเจ้า-ขุนนาง
บางประการ นั่นคือ “การถวายอำนาจคืน” โดยคณะรัฐประหารเป็นผู้มอบให้ผ่านรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่ประกาศใช้ สำหรับจอมพล ป. พิบูลสงคราม นั้น แม้ว่าจะเคยเป็นคู่ปฏิปักษ์กับฝ่ายเจ้าขุนนางมาก่อน แต่ก็ได้ฉวยสถานการณ์เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ดังคำให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2490 ในนามของหัวหน้าคณะรัฐประหารว่า “รัฐประหารครั้งนี้คณะทหารอยากเปลี่ยนรัฐบาล จะเพิ่มอำนาจพระมหากษัตริย์ให้มากขึ้น ท่านจะได้โอกาสช่วยดูแลบ้านเมือง” (การเมืองรายสัปดาห์ 25 พฤศจิกายน 2490) และในที่สุด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระราชหัตถเลขาในวันที่ 25 พฤศจิกายน แสดงความปิติยินดีด้วยกับการรัฐประหารครั้งนี้(ว.ช.ประสังสิต 2492 : 245-248)
3.8 รัฐธรรมนูญ 2490 วางระบบอำนาจฝ่ายเจ้าให้เข้มแข็ง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว พ.ศ.2490 หรือที่รู้จักกันในนามรัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม เนื่องจากคณะรัฐประหารได้เตรียมการร่างรัฐธรรมนูญไว้ล่วงหน้าแต่ด้วยเกรงว่าจะมีคนรู้เห็นจึงซ่อนไว้ใต้ตุ่ม จากคำให้สัมภาษณ์ของ น.อ.กาจ เก่งระดมยิง (ชื่อเดิมกาจ กาจสงคราม) ผู้ร่างได้กล่าวว่า
“เตรียมร่างรัฐธรรมนูญไว้วันละเล็กละน้อย โดยมิได้มีผู้ใดพึงรู้เห็นแล้วเก็บซ่อนไว้ใต้ตุ่มสามโคก ครั้นเมื่อทำการรัฐประหารสำเร็จลงจึงได้นำรัฐธรรมนูญที่ซ่อนไว้ใต้ตุ่มแดงออกประกาศใช้ทันที รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงมีฉายาว่ารัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม”
Ù รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชัดเจนว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่พลิกฟื้นอำนาจของกษัตริย์ขึ้นอย่างค่อนข้างสมบูรณ์นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 กล่าวคือได้กำหนดให้มี 2 สภา คือสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา โดยมีจำนวนเท่ากัน และเฉพาะวุฒิสภาทั้งหมดนั้นให้เป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่จะทรงคัดเลือกเอง(มาตรา 33) และกำหนดให้มีการรื้อฟื้นอภิรัฐมนตรีสภาซึ่งเป็นองค์กรบริหารของเจ้านายสมัยรัชกาลที่ 7 และถูกรัฐบาลคณะราษฎรยกเลิกไปแล้ว โดยรัฐธรรมนูญฉบับปี 2490 มาตรา 2 กำหนดให้มีขึ้นมาใหม่ อภิรัฐมนตรีสภาก็มีฐานะคล้ายคณะองคมนตรีในปัจจุบันนี้
การมีวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งของกษัตริย์ทั้งสภา และให้มีอำนาจเสมอเช่นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จึงเป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่ามีอำนาจของกษัตริย์คุมอำนาจทางการเมืองของประชาชนอย่างชัดเจน ดังนั้นหลักการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยทรงอยู่เหนือการเมืองตามแนวคิดของคณะราษฎรจึงไม่เป็นจริง และตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับ 2490 เป็นต้นมา เมื่อมีการฉีกรัฐธรรมนูญและร่างรัฐธรรมนูญใหม่อำนาจของกษัตริย์ในวุฒิสภาก็ยังคงสืบเนื่องต่อไป และมาสิ้นสุดเมื่อเกิดการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปี 2540 ที่ยกเลิกการแต่งตั้งวุฒิสภาจากกษัตริย์ โดยให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทั้งหมด ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจเต็มแก่ประชาชน
เมื่อนำเหตุการณ์การยึดอำนาจเมื่อ 19 กันยายน 2549 มาศึกษาเปรียบเทียบก็จะพบประเด็นที่มาแห่งวุฒิสภาเป็นชนวนระเบิด ที่ฝ่ายเจ้าไม่พอใจรัฐธรรมนูญปี 2540 และเก็บความไม่พอใจนี้ซ่อนไว้อย่างเงียบๆ โดยปล่อยให้รัฐธรรมนูญปี 2540 ประกาศใช้ไปสักระยะหนึ่งก่อน แล้วนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวใน “เครือข่ายราชสำนัก”(Royol Network) เช่น อธิบดีมหาวิทยาลัย คณบดี หรือพวกที่ตั้งชื่อตัวเองแปลกว่าราษฎรอาวุโส ก็ออกมาโจมตีเพื่อทำลายกระบวนการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาว่าเป็นสภาผัวเมีย เพื่อให้เกิดการเสื่อมความนิยมในหมู่ประชาชนเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภาโดยตรงจากประชาชน และให้หันหลังกลับมาสู่การแต่งตั้งโดยสถาบันพระมหากษัตริย์อีก ในที่สุดเมื่อเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยนำระบบการแต่งตั้งวุฒิสมาชิกกลับมาใหม่ แต่ยังเหนียมอายถึงการกระทำที่ไม่เป็นประชาธิปไตย จึงใช้คำว่า “สรรหา” ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 โดยฝ่ายเจ้าใช้อำนาจผ่านกลไกของประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครอง และประธานศาลรัฐธรรมนูญ และกลไกของระบบข้าราชการที่มาในรูปขององค์กรอิสระ และในเบื้องต้นของรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็ลองเชิงแต่งตั้งวุฒิสภาเพียงครึ่งสภาก่อน แต่ที่สะท้อนความต้องการของฝ่ายเจ้าที่อยากจะเห็นระบบการเมืองโดยตัดมือตัดเท้าของฝ่ายประชาชนอย่างชัดแจ้งก็คือ การนำเสนอ “การเมืองใหม่” ของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าเป็นม็อบของฝ่ายเจ้า(โดยเรียกขานกันเป็นสัญลักษณ์ตามท้องตลาดว่าม็อบเส้นใหญ่) โดยเสนอให้การเลือกตั้งในสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นฐานอำนาจที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาให้เป็นแบบ 30:70 คือเลือกตั้ง 30 เปอร์เซ็นต์ แต่งตั้ง 70 เปอร์เซ็นต์ และได้กลายเป็นชนวนระเบิดในสังคมไทยในขณะนี้
3.9 แม้ฟื้นอำนาจแล้วแต่เจ้ายังคุมทหารไม่ได้
ในการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 แม้จะเป็นการกำจัดฐานอำนาจของคณะราษฎรด้วยการยึดอำนาจขับไล่ปรีดี พนมยงค์ และแกนนำ ออกนอกประเทศ พร้อมกวาดล้างจับกุมพลพรรคของปรีดี พนมยงค์ แล้วก็ตาม แต่อำนาจของฝ่ายเจ้าโดยพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่มีอำนาจที่จะควบคุมฝ่ายทหารของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ ประกอบกับในขณะนั้นพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ก็ยังทรงพระเยาว์ ต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนคือกรมขุนชัยนาทนเรนทร และเนื่องจากพระองค์เพิ่งขึ้นครองราชย์ (ขึ้นครองราชย์ในตอนเย็นวันที่ 9 กันยายน 2489 ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับที่รัชกาลที่ 8 สิ้นพระชนม์เมื่อตอนเช้า) พระบรมเดชานุภาพยังไม่แกร่งกล้าที่จะสยบอำนาจของฝ่ายทหารได้ เมื่อฝ่ายเจ้ายืมมือของฝ่ายทหารทำลายฝ่ายประชาชนภายใต้การนำของปรีดี เป็นผลสำเร็จแล้ว อำนาจการเมืองที่ขับเคี่ยวกันจึงเหลือเพียง 2 ฝ่าย คือฝ่ายเจ้าโดยมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นฐานฝ่ายหนึ่ง กับฝ่ายทหารโดยมีกองทัพเป็นฐานให้แก่จอมพล ป.พิบูลสงคราม อีกฝ่ายหนึ่งแล้ว ละครน้ำเน่าที่เคยแสดงความรักอันดูดดื่มระหว่างควง อภัยวงศ์ กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ขาดสะบั้นในวันที่ 6 เมษายน 2491 ด้วยการที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ส่งทหารคนสนิทคือ พล.ต.สวัสดิ์ ส.สวัสดิ์เกียรติ, พ.อ.ศิลป์ รัตนพิบูลชัย, พ.ท.ก้าน จำนงภูมิเวช และพ.ท.ลม้าย อุทยานานนท์ มาขอเข้าพบและจี้ตัวนายควง อภัยวงศ์ ให้ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีภายใน 24 ชั่วโมง นายควง อภัยวงศ์ ก็ยอมลาออกแต่โดยดีโดยถวายบังคมลาในตอนเย็นวันที่ 6 เมษายน นั้นเอง โดยกรมขุนชัยนาทนเรนทร ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก็ไม่กล้าที่จะ ทัดทาน
Ù กรณีความร่วมมือระหว่างฝ่ายเจ้ากับฝ่ายทหารที่จับมือกันโค่นล้มฐานการเมืองฝ่ายประชาชนของปรีดี พนมยงค์ เป็นบทเรียนที่น่าศึกษาเปรียบเทียบกับการเมืองในปัจจุบัน ที่มีการจับมือกันระหว่างพรรคประชาธิปัตย์โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคในนามตัวแทนของฝ่ายเจ้ากับพล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา ในนามตัวแทนของฝ่ายทหารที่ต่างก็อยู่ภายใต้พระบรมเดชานุภาพ โดยร่วมกันทำการโค่นล้มฐานการเมืองฝ่ายประชาชนของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันโดยรูปแบบ แต่มีเนื้อหาที่แตกต่างกันในเงื่อนไขเวลาของยุคสมัยและปัจจัยใหม่คือการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน แต่แม้กระนั้นต่างก็ยังอยู่ในบทสัจธรรมเดียวกันไม่เปลี่ยนแปลงคือ อำนาจเป็นสิ่งที่หอมหวน ดังนั้นการเห็นบทหวานชื่นระหว่างอภิสิทธิ์กับพล.อ.อนุพงศ์ วันนี้ก็ใช่ว่าจะราบรื่นตลอดไปไม่ ลองมาดูบทละครการเมืองอันหวานชื่นในระยะเริ่มแรกของนายควงกับจอมพล ป. แต่ก็อยู่กินกันหม้อข้าวไม่ทันดำก็เลิกร้างกันไป ลองดูบทเกี้ยวพาราสีกันระหว่างนายควง อภัยวงศ์ ,มรว.เสนีย์ ปราโมช กับจอมพล ป.พิบูลสงคราม แล้วก็จะรู้เองว่าพรรคประชาธิปัตย์มีประวัติการแสดงละครทางการเมืองชนิดที่เรียกว่าตลบตะแลงถึงบทจริงๆ แต่สุดท้ายก็แตกกันเพราะต่างฝ่ายต่างก็อยากได้อำนาจสูงสุดด้วยกัน
นายควง : นี่ไงกัปตัน ผมเอารายชื่อรัฐมนตรีมาให้ดู
จอมพล ป. : เอามาให้ผมดูทำไม ผมบอกแล้วว่า
ไม่ต้องการอำนาจทางการเมือง
คุณเห็นดีอย่างไรก็เอาอย่างนั้นแหละ
นายควง : แต่มีรัฐมนตรีหลายคนที่กัปตันคงไม่ชอบ
จอมพล ป. : อย่าได้ถือความเห็นผมเป็นสำคัญ....”
Ù ส่วนม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ก็ออกมาปกป้องจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทั้งๆ ที่ประชาธิปัตย์เคยโจมตีว่าเป็นจอมเผด็จการมาก่อน แต่วันนี้จำเป็นต้องกลับหลังหันมาจูบปากกัน, บรรพบุรุษของพรรคประชาธิปัตย์มีความสามารถพิเศษในเรื่องเหล่านี้ โดยกล่าวชื่นชมเพื่อให้สังคมวางใจในตัวจอมพล ป.โดยเปรียบเปรยว่าคนที่กลัวความเป็านเผด็จการมากที่สุดในเมืองไทยวันนี้ก็คือตัวของท่านจอมพล ป.เองโดยกล่าว ว่า “หม่อมคึกฤทธิ์ เป็นเจ้าของคำคมอีกคนหนึ่งโดยได้กล่าวว่าเวลานี้คนในเมืองไทยที่กลัวเผด็จการมากที่สุดได้แก่จอมพล ป.ข้อนี้เป็นคำกล่าวที่มีเหตุผล”
Ù ส่วนความรักอันหวานชื่นระหว่างอภิสิทธิ์ กับพล.อ.อนุพงศ์ ในปัจจุบันนี้จะจบลงอย่างไรเป็นเรื่องที่ผู้อ่านจะต้องติดตามกันต่อไป
3.10 รัฐประหาร 2500 ระบอบกษัตริย์เริ่มตั้งมั่นอย่างเข้มแข็ง
การเฝ้ารอคอยโอกาสเพื่อเผด็จอำนาจทางการเมืองเป็นคุณสมบัติและประสบการณ์ที่สำคัญของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่ใช้เป็นกลยุทธ์ในการสร้างสมบารมีจนกลายเป็นพระบรมเดชานุภาพที่พลิกฟื้นอำนาจของกษัตริย์กลับขึ้นมาใหม่จนเข้มแข็ง และพัฒนาอำนาจทำให้ระบอบการปกครองของไทยกลายเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่ในทุกวันนี้
เมื่อจอมพล ป.พิบูลสงคราม กลับสู่อำนาจการเมืองใหม่อีกครั้ง ด้วยการจี้ให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออก ในเส้นทางการเมืองยุคสุดท้ายของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ต้องประสบปัญหามากมาย และการดิ้นรนเพื่อรักษาอำนาจอยู่ต่อไปนั้นในแต่ละวันก็ยากเย็นแสนเข็ญ และโดยธรรมชาติทางการเมืองก็เกิดความขัดแย้งระหว่างลูกน้องของจอมพล ป. ด้วยกัน เข้าทำนองว่าเสือสองตัวอยู่ในถ้ำเดียวกันไม่ได้ นั่นคือความขัดแย้งระหว่างพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ กับพลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงขาลงของจอมพล ป.นั้น กระแสตื่นตัวของประชาชนต่อสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย เป็นกระแสการเมืองใหม่ที่เริ่มมีพลังขึ้น อันเป็นผลสะเทือนจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 และการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง อีกทั้งจอมพล ป. ต้องการจะลบภาพจอมเผด็จการที่เคยแสดงออกในอดีตเมื่อครั้งลัทธิทหารเป็นกระแสหลักของโลกโดยมีผู้นำทางทหารที่มีชื่อเสียงเช่น ฮิตเลอร์ ผู้นำเยอรมัน มุสโสลินี ผู้นำอิตาลี และโตโจ ผู้นำญี่ปุ่น จอมพล ป.จึงหนุนระบอบประชาธิปไตยให้มีการเลือกตั้ง เปิดสนามหลวงให้เป็นเวทีประชาธิปไตยที่ประชาชนจะไปแสดงความคิดเห็นใดๆ ก็ได้ คล้ายกับสวนสาธารณะ “ไฮด์ปาร์ค” ในอังกฤษ จนคำว่า “ไฮด์ปาร์ค”กลายเป็นคำสะแลง หมายถึง ลักษณะการเปิดปราศรัยแบบด่าแหลกและตัวท่านเองก็ตั้งพรรคการเมืองเข้าแข่งขันในนามพรรคเสรีนังคศิลา
โดยธรรมชาติแห่งระบอบประชาธิปไตยนั้นมีพลังอำนาจที่สำคัญคือ “อำนาจต้องมาจากประชาชน” ดังนั้นระบอบเผด็จการใดๆ ที่พยายามจะฉาบสีสันของประชาธิปไตยเพียงรูปแบบนั้น ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ยากที่จะดำรงอยู่ได้ และวาระสุดท้ายของจอมพล ป.ก็พบกับสัจธรรมนี้ เมื่อจอมพล ป.ไม่ยอมลงจากอำนาจทั้งๆ ที่ความนิยมของประชาชนเสื่อมลงไปมากแล้ว อีกทั้งฐานอำนาจทางทหารก็แตกกัน ดังจะเห็นได้ว่าในขณะนั้นจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ตีตัวออกห่างจากจอมพล ป.ทั้งๆ ที่เป็นผู้คุมกำลังทหารสำคัญ แต่ก็ไม่ยอมออกคำสั่งให้ทหารในบังคับบัญชาไปลงคะแนนเลือก ส.ส.ของพรรคเสรีมนังคศิลาโดยแสดงตัวเป็นนักประชาธิปไตยเต็มใบโดยกล่าวว่า “เมื่อจะเป็นประชาธิปไตยกันจริงๆ แล้ว ขออย่าได้บังคับกะเกณฑ์ให้ไปลงคะแนนให้พรรครัฐบาลเลย บุคคลอื่นๆ ที่อยู่พรรคการเมืองฝ่ายค้านก็อาจจะเป็นคนดีได้”
Ù ด้วยภาวะขาลงเช่นนี้ จอมพล ป.ไม่มีทางเลือกที่จะสืบต่ออำนาจประชาธิปไตย จึงเกิดกรณีการโกงการเลือกตั้งอย่างครึกโครมในการประกาศผลการเลือกตั้งเมื่อ 1 มีนาคม 2500 จึงเกิดกระแสการต่อต้าน โอกาสทองทางการเมืองของจอมพลสฤษดิ์ จึงเกิดขึ้น ซึ่งในขณะนั้นความคิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเริ่มถ่ายเทลงไปสู่ขบวนการนักศึกษาอย่างมีผลแล้ว แม้จะเป็นยุคต้นๆ ก็ทำให้เกิดเงื่อนไขความชอบธรรมของผู้มีอำนาจทั้งของทหารและฝ่ายเจ้า ที่จะใช้พลังนักศึกษาประชาชนกล่าวอ้างเพื่อทำลายปฏิปักษ์ทางการเมืองและการช่วงชิงอำนาจทางการเมือง ในเหตุการณ์เวลานั้นพลังนักศึกษาจากจุฬาฯ และธรรมศาสตร์ ก็รวมตัวประท้วงการโกงการเลือกตั้งโดยยกขบวนไปทำเนียบรัฐบาล เพื่อจะซักฟอกจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นจอมพลสฤษดิ์ เป็นผู้บัญชาการทหารบกและเป็นผู้รักษาพระนครแทนที่จะขัดขวางเพื่อปกป้องรัฐบาล ก็ทำการลอยตัว(คล้ายๆ กับพล.อ.อนุพงษ์ ผู้บังคับบัญชาการทหารบกในปัจจุบัน กรณีพันธมิตรบุกยึดทำเนียบรัฐบาลในปี 2551) และแสดงตัวเป็นนักประชาธิปไตยเต็มที่ (แท้จริงเตรียมช่วงชิงยึดอำนาจ) โดยจอมพลสฤษดิ์ปล่อยให้ฝูงชนเดินทางผ่านไปเผชิญหน้ากับจอมพล ป.นายกรัฐมนตรี เพื่อซักฟอก, แล้วจอมพลสฤษดิ์ ก็แสดงตัวเป็นพระเอกสลายฝูงชนโดยกล่าวปราศรัยบอกนัยสำคัญทางการเมืองว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่ฝูงชนต้องการโดยกล่าวว่า
“ข้าพเจ้าเป็นทหารของชาติ และขอพูดอย่างชายชาติทหารว่า ข้าพเจ้ามีความเห็นใจประชาชน สิ่งใดที่มติมหาชนไม่ต้องการข้าพเจ้าจะไม่ร่วมมือด้วย” และกล่าวลงท้ายคำปราศรัยอย่างมีความหมายทางการเมืองว่า “พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ”
Ù ต่อมาไม่นาน 16 กันยายน 2500 จอมพลสฤษดิ์ก็ทำการยึดอำนาจขับไล่จอมพล ป.พิบูลสงคราม และพล.อ.เผ่า ศรียานนท์ ออกนอกประเทศ แล้วจอมพลสฤษดิ์ก็ถอดหน้ากากประชาธิปไตยทิ้ง เปิดเผยโฉมหน้าจริงของตนด้วยการใช้อำนาจเผด็จการโดยปกครองประเทศด้วยรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวมีเพียง 17 มาตรา โดยมีมาตรา 11 เป็นอำนาจเผด็จการสูงสุดของนายกรัฐมนตรีที่สั่งฆ่าคนได้โดยไม่ต้องสอบสวน เป็นเวลานานถึง 6 ปีก่อนจะสิ้นชีวิต โดยตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นจากนักวิชาการที่ขายตัว(ซึ่งไม่แตกต่างจากนักวิชาการในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในวันนี้) โดยรับนโยบายจากจอมพลสฤษดิ์ว่าไม่ต้องร่างให้เสร็จ
บทบาททางการเมืองของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลที่ชาญฉลาดนับตั้งแต่ปลายยุคจอมพล ป.ถึงยุคจอมพลสฤษดิ์ ทั้งที่ยังทรงพระเยาว์นั้นไม่อาจจะปฏิเสธบทบาทของเสนาธิการใหญ่ผู้อยู่เบื้องหลังที่เป็นสามัญชนคือสมเด็จพระราชชนนี ที่ช่วยวางแผนประสานแนวร่วมและทำลายศัตรูทีละส่วน จนอำนาจวังกล้าแข็งและพัฒนามาเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่อยู่ในขณะนี้
ดังจะเห็นความชาญฉลาดในการแสวงหาอำนาจของวัง กล่าวคือตลอดระยะเวลาการครองอำนาจของจอมพลสฤษดิ์ได้เกิดเรื่องอื้อฉาวของการกระทำทุจริตอย่างขนานใหญ่ รวมตลอดทั้งการตั้งฮาเร็มโดยมีหญิงสาวมาบำรุงบำเรอจอมพลสฤษดิ์และการมีเพศสัมพันธ์กับนางบำเรอนั้นจอมพลสฤษดิ์ก็ชอบนุ่งผ้าขาวม้าสีแดง แต่ก็ไม่มีข้อวิจารณ์ใดๆ จากวัง
ทำไมพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรมไม่เคยตำหนิหรือว่ากล่าวกระทบกระเทือบถึงจอมพลสฤษดิ์เลยจนถึงทุกวันนี้
เป็นเพราะอะไร ?
คำตอบทางประวัติศาสตร์ที่เด่นชัดก็คือจอมพลสฤษดิ์ได้เปิดศักราชยุคใหม่ของเมืองไทยที่ฝ่ายเจ้าต้องการและรอคอยมานาน
จอมพลสฤษดิ์ได้เปลี่ยนปรัชญาของกองทัพ จากกองทัพของชาติและประชาชนภายใต้การนำของคณะราษฎรเป็นกองทัพของพระราชาโดยสมบูรณ์แบบ
จอมพลสฤษดิ์ ได้ทำลายปรัชญารากฐานความคิดของสังคมที่จะมุ่งไปสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขกลายเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่โดยทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันรัฐธรรมนูญที่คณะราษฎรสร้างขึ้นเพื่อมาทดแทนความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันกษัตริย์ และทำลายวันชาติจาก 24 มิถุนายน คือวันเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นวันพ่อ 5 ธันวาคม คือวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และถือเป็นวันชาติของประเทศไทยโดยปริยายตั้งแต่นั้น
นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ฝ่ายกษัตริย์ได้เริ่มตั้งมั่นอย่างเข้มแข็งเมื่อเกิดการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อปี 2500, จาก 2475-2500 จึงเป็น 25 ปีของการรอคอยเพื่อการฟื้นอำนาจใหม่, ดังนั้นฐานะของวังภายใต้อำนาจคณะราษฎร จึงเป็นฝันร้ายที่หลอกหลอนราชสำนักเป็นอย่างมาก จนส่งผลต่อการเมืองปัจจุบันนี้ที่ราชสำนักจะเกิดความระแวงโดยเกรงว่าฝ่ายการเมืองภาคพลเรือน หรือภาคทหารจะก่อตั้งสถาบันทางอำนาจขึ้นมาเข้มแข็ง แข่งกับอำนาจของฝ่ายตน
ดังนั้นการควบคุมและแทรกแซงอำนาจทางการเมืองของฝ่ายเจ้าในช่วงเวลาที่ผ่านมา นับตั้งแต่จอมพลสฤษดิ์ สิ้นชีวิตจนถึงปัจจุบันนี้ จึงเกิดขึ้นเป็นประจำอย่างใกล้ชิดและเกาะติด จนกระทั่งเกิดเป็นโครงสร้างอำนาจนอกระบบขึ้น และมีอำนาจเข้มแข็งกว่าอำนาจในระบบเลือกตั้งที่มาจากประชาชน
3.11 เข้าสู่สมบูรณาญาสิทธิราชใหม่โดยกฎหมาย
รัฐประหาร 16 กันยายน 2500 เป็นเส้นแบ่งทางประวัติศาสตร์ชัดเจนว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่แล้ว
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่จะยืนยันให้เห็นถึงพระราชอำนาจของกษัตริย์ไทยว่ามีอยู่จริงโดยวัฒนธรรมและโดยกฎหมายอย่างสมบูรณ์ นับตั้งแต่ถูกยึดอำนาจไปเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ก็คือการยึดอำนาจทางการเมืองที่ถูกช่วงชิงไป กลับคืนมาสู่ราชสำนักโดยปรากฏหลักฐานจากเหตุการณ์การโค่นล้มรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งถือเป็นการสิ้นเชื้อสายพันธุ์คณะราษฎรเมื่อ 16 กันยายน 2500 โดยพระมหากษัตริย์ได้แสดงพระองค์อย่างเปิดเผยในประกาศพระบรมราชโองการตั้ง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร โดยไม่มีผู้ใดลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่แสดงออกทางอำนาจการเมืองด้วยพระองค์เองโดยไม่มีผู้ใดมารับผิดชอบแทน ซึ่งผิดจากแนวทางของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และโดยกฎหมายจึงถือว่าระบอบการปกครองของไทยได้กลับมาสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชนับแต่นั้นแล้ว, รายละเอียดของพระบรมราชโองการที่แสดงถึงพระราชประสงค์ที่มีต่อการยึดอำนาจว่า
“ประชาชนทั้งหลายจงอยู่ในความสงบ และให้ข้าราชการทุกฝ่ายฟังคำสั่งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”
Ù เมื่อพิจารณาจากตัวนายกรัฐมนตรีคือนายพจน์ สารสิน ก็เห็นชัดเจนว่าพระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจทางการเมืองอย่างแท้จริงนับแต่นั้น เพราะนายพจน์ที่ขึ้นเป็นนายกฯ คนที่ 9 นี้เป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดราชสำนัก ดังจะเห็นได้ว่าปัจจุบันนามสกุลนี้ยังรับใช้ใกล้ชิดราชสำนักต่อเนื่องกันมาถึงปัจจุบันคือ นายอาสา สารสิน ในฐานะราชเลขาฯ
นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานคำสัมภาษณ์ของพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ยืนยันชัดเจนว่ากษัตริย์เป็นผู้หนุนหลังการยึดอำนาจของ จอมพลสฤษดิ์ โดยนายเผ่าให้สัมภาษณ์ที่กรุงการาจี ประเทศปากีสถาน เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2500 ขณะลี้ภัยว่า “รัฐประหารครั้งนี้เป็นที่คาดและทราบกันอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าไม่มีใครคิดจะสู้กับทหารและกษัตริย์”
Ù3.12 การยึดอำนาจของวังมีสูตรมาตรฐาน
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทยในเหตุการณ์การยึดอำนาจของฝ่ายทหารตามที่คนไทยเข้าใจมาโดยตลอดนั้น หากจะพิจารณาจากรูปแบบการจัดการแล้วจะเห็นว่าการยึดอำนาจนับตั้งแต่ปี 2500 จนถึงปัจจุบัน หากครั้งใดที่มีข่าวลือว่าเป็นพระราชประสงค์แล้ว รูปแบบการจัดการก่อนและหลังการยึดอำนาจจะมีรูปแบบที่คล้ายกันหมดเกือบจะเรียกว่ามีสูตรสำเร็จเป็นมาตรฐานเลยทีเดียว นับตั้งแต่การเคลื่อนไหวประท้วงของประชาชน เพื่อสร้างความชอบธรรมก่อนการยึดอำนาจ, การใช้กำลังทหารเข้ายึดอำนาจโดยรวมศูนย์เป็นเอกภาพ, การจัดตั้งรัฐบาลพระราชทานโดยให้คนใกล้ชิดมาเป็นนายกฯ และการดำรงอยู่ของรัฐบาลพระราชทานนั้น จะมีอายุอยู่ประมาณ 1 ปี โดยจัดร่างรัฐธรรมนูญที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบราชการ และสร้างความอ่อนแอให้แก่ระบบพรรคการเมืองโดยนักร่างมืออาชีพ แล้วหลังจากนั้นก็จะจัดให้มีการเลือกตั้งเมื่ออยู่ได้สักพักหนึ่งก็จะเกิดการยึดอำนาจในลักษณะนี้อีก
กล่าวโดยสรุปแล้วการมีอำนาจของรัฐบาลนับแต่ปี 2500 เป็นต้นมา จะไม่มีรัฐบาลใดที่เข้มแข็งเลยด้วยสูตรยึดอำนาจแบบมาตรฐานสลับกับการเลือกตั้ง การยึดอำนาจครั้งสำคัญๆ ที่จะชี้ให้เห็นถึงสูตรมาตรฐานได้แก่
1. เกิดการเดินขบวนต่อต้านจอมพล ป.แล้วก็มีการยึดอำนาจเมื่อ 16 กันยายน 2500 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยให้นายพจน์ สารสิน คนใกล้ชิดมาเป็นนายกรัฐมนตรี อยู่ได้ประมาณ 1 ปี ก็เปิดให้มีการเลือกตั้งอยู่ได้ไม่นาน ก็เกิดการยึดอำนาจใหม่อีกทีเมื่อ 20 ตุลาคม 2501 แล้วก็เผด็จการยาว
2. เกิดการเดินขบวนของนักศึกษาปัญญาชนต่อต้านจอมพลถนอม แล้วพลเอกกฤษ สีวะรา ก็ยึดอำนาจในนามมวลชนเป็นผู้ขับไล่ล้มอำนาจจอมพลถนอมเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 ก็ได้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ คนใกล้ชิดวังเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ 1 ปี แล้วก็เปิดการเลือกตั้งทั่วไป ปี 2518 พอถึงปลายปี 2519 ก็เกิดรัฐประหารอีก
3. เกิดการเคลื่อนไหวไม่พอใจพลเอกชาติชาย มีนักศึกษาเผาตัวประท้วง แล้วก็เกิดการยึดอำนาจเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2534 โดยคณะทหาร รสช.บุกจี้ตัวนายกฯ บนเครื่องบินขณะที่พลเอกชาติชายกำลังจะไปเข้าเฝ้าที่เชียงใหม่แล้ว ก็ได้นายอานันท์ ปัณยารชุนคนใกล้ชิดวังเป็นนายกรัฐมนตรี 1 ปี แล้วก็เปิดเลือกตั้งทั่วไปต้นปี 2535 พล.อ.สุจินดา ตั้งรัฐบาลได้ 45 วัน ก็ถูกเดินขบวนขับไล่โดยการนำของพล.ต.จำลอง คนสนิทพลเอกเปรม แล้วก็ได้นายอานันท์ ปัณยารชุน มาเป็นนายกฯ ใหม่อีกครั้งหนึ่ง แบบหักมุม แล้วก็มีรัฐบาลแบบอ่อนแอ 8 ปี 4 รัฐบาล (2535-2543)
4. เกิดการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณของกลุ่มพันธมิตรฯ ก่อน แล้วก็เกิดการยึดอำนาจเมื่อ 19 กันยายน 2549 โดยคณะทหารที่ใช้ชื่อว่า คปค.แล้วต่อมาเปลี่ยนเป็น คมช.โดยมีนายกรัฐมนตรีมาจากองคมนตรีโดยตรงคือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อยู่ได้ 1 ปี แล้วก็เปิดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 แล้วก็มีรัฐบาลที่ไม่มีเสถียรภาพทำลายสถิติโลกคือ ภายใน 1 ปี (2551) มี 4 รัฐบาล
สูตรสำเร็จทางการเมืองที่สรุปได้คือ ยึดอำนาจโดยกำลังทหาร แล้วตั้งรัฐบาลพระราชทานประมาณ 1 ปี ในระหว่างนี้จัดร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แล้วเปิดเลือกตั้ง แล้วหลังจากนั้นถ้าได้รัฐบาลที่วังพอใจก็อยู่ได้นานหน่อย แต่ไม่นานมากก็ต้องเปลี่ยนนายกฯ แต่ถ้าได้รัฐบาลที่วังไม่พอใจ รัฐบาลก็จะอายุสั้น
การเมืองไทยก็จะมีวังวนเช่นนี้
จากสูตรมาตรฐานทางการเมืองของราชสำนักนี้เป็นผลให้การดำรงอยู่ของราชสำนักมีความเข้มแข็งแผ่บารมีไพศาล ไม่มีสถาบันอำนาจการเมืองใดเติบโตมาเทียบบารมีได้ นับเป็นสูตรสำเร็จทางการเมือง ที่บ่งบอกถึงลักษณะเด่นของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่ที่ชัดเจน
3.13 อำนาจนอกระบบ : เครื่องมือสำคัญ
อำนาจนอกระบบที่มีทั้งองค์กรมวลชน, ทหาร, ข้าราชการเกาะกลุ่มกันเป็นเครือข่าย โดยตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบรัฐสภา ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของราชสำนักในการทำลายรัฐบาลที่ราชสำนักไม่พึงพอใจจนกลายเป็นเส้นทางใหม่
นับแต่การสิ้นชีวิตของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์, จอมพลถนอม กิติขจร ก็ก้าวขึ้นสู่อำนาจอย่างสมบูรณ์แบบแทน แต่การมีอำนาจของจอมพลถนอมมีลักษณะเป็นเครือข่ายทางทหารที่เข้มแข็งโดยมีจอมพลประภาส จารุเสถียร ก้าวเคียงคู่มาด้วย ขุนศึกทั้งสองมีลักษณะเป็นตัวของตัวเอง และผูกติดเป็นเครือญาติกันโดยถือเป็นขุนศึกยุคสุดท้ายที่ได้ผงาดขึ้นอย่างเข้มแข็ง ในขณะเดียวกันอำนาจของฝ่ายเจ้าก็เริ่มตั้งมั่นเข้มแข็งแล้วเช่นกันในช่วงระยะเวลาสิบกว่าปีนับแต่ปี 2490 ฝ่ายเจ้าได้สร้างเครือข่ายอำนาจของตนขึ้นครอบงำสังคมไทย โดยรวบรวมนักวิชาการในมหาวิทยาลัย และตามกระทรวง ทบวง กรม รวมตลอดทั้งทหาร ตำรวจ สื่อสารมวลชน ที่มีแนวคิดจารีตนิยมกลุ่มหนึ่งขึ้นแล้ว โดยมีองคมนตรีเป็นกลไกอำนาจสูงสุดในการเชื่อมโยงโครงข่าย และกลายเป็นอำนาจนอกระบบที่เข้มแข็งขึ้นตรงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ การล้มรัฐบาลของจอมพลถนอมจึงเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีผลเท่ากับเป็นการทดลองการใช้เครื่องมือใหม่ที่ฝ่ายเจ้าได้ประดิษฐ์คิดสร้างขึ้นคือ “อำนาจนอกระบบ” โดยใช้ทหารที่เปลี่ยนปรัชญามาเป็นทหารของพระราชา แล้วเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนโดยประสานกับผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญในขณะนั้นคือม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่เป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนนักศึกษาปัญญาชน แล้วทุกอย่างก็สำเร็จตามประสงค์
อำนาจนอกระบบที่ควบคุมโดยราชสำนักจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญทางการเมือง ดังนั้นตลอดระยะเวลา 5 ทศวรรษที่ผ่านมานับแต่ปี 2500 อำนาจนอกระบบนี้ก็ได้แสดงบทบาทอย่างเข้มแข็งโดยบดขยี้ทุกอำนาจในระบอบรัฐสภาและอำนาจเผด็จการทหารแปลกปลอม ที่ไม่ยอมขึ้นต่ออำนาจฝ่ายเจ้า หรือมีทีท่าว่าจะเข้มแข็ง มาตีเสมอและทัดเทียมฝ่ายเจ้า อำนาจการเมืองนั้นก็จะถูกบดขยี้อย่างแนบเนียนเสมือนหนึ่งว่าการพังทลายของอำนาจนั้นเกิดขึ้นเพราะความเลวร้ายของผู้ถืออำนาจนั้นเองนับตั้งแต่รัฐบาลของจอมพลถนอม-ประภาส เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน แต่เหยื่อรายล่าสุดคือรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดูเหมือนว่าเครื่องมือสำคัญคือ “อำนาจนอกระบบ” นี้จะล้าสมัยไปเสียแล้ว เนื่องจากยุคสมัยของเทคโนโลยีทางข่าวสารได้เปลี่ยนไปในทางที่ก้าวหน้ามาก ประกอบกับเป็นรัฐบาลที่มีผลงานและนโยบายที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนระดับล่างได้อย่างเป็นรูปธรรม และที่สำคัญที่สุดก็คือเป็นรัฐบาลที่มาจากระบอบประชาธิปไตยอย่างชัดเจนและสมบูรณ์แบบในยุคโลกาภิวัฒน์ ประกอบกับเป็นช่วงปลายของรัชกาลปัจจุบันที่วังเองก็เกิดความขัดแย้งกันภายในรุนแรง จึงเกิดสภาวะการเปิดโปงตัวเองทางประวัติศาสตร์ กลายเป็นบทศึกษาทางการเมืองให้แก่ประชาชนได้เห็นระบอบการปกครองปัจจุบันที่แท้จริงว่า“ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย”
3.14 วังเข้มแข็งเป็นภาวะวิสัยทางประวัติศาสตร์
นักการทหารและปัญญาชนไทยส่วนหนึ่งที่ไม่เห็นโอกาสที่จะหลุดพ้นจากระบบเผด็จการทหารในอดีตได้ส่วนหนึ่งจึงตัดสินใจเข้าป่าไปร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ด้วยหวังที่จะสร้างระบอบประชาธิปไตยมวลชนด้วยมือของราษฎรเอง แต่อีกส่วนหนึ่งก็ โผเข้าสวามิภักดิ์ต่อวัง ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาหนุนหลังเพื่อต่อสู้กับคอมมิวนิสต์อินโดจีนในยุคสงครามเย็น
อำนาจเผด็จการทหารได้สร้างความหวาดกลัวโดยก่อตัวมายาวนานตั้งแต่จอมพล ป.พิบูลสงคราม นำประเทศชาติเข้าร่วมกับกองทัพญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 และเมื่อเผด็จการทหารจอมพล ป.ล้มลง เผด็จการทหารจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็สืบต่ออีก ความโหดร้ายของเผด็จการทหารได้ปรากฏชัดเจนเช่นการลอบฆาตกรรมศัตรูทางการเมือง กรณีการฆ่านายเตียง ศิริขันธ์ รัฐมนตรีและคณะ, ที่ทุ่งรังสิตโดยอ้างข้างๆ คูๆ ว่าเกิดจากการแย่งชิงตัวรัฐมนตรีที่ถูกจับกุมตัวเป็นนักโทษในขณะนั้นโดยกลุ่มโจรจีนเข้าแย่งชิงตัวและถูกลูกหลงเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ และเหตุการณ์ลอบทำร้ายอื่นๆ อีกมากจนทำให้กลุ่มปัญญาชนและนักการทหาร อย่างเช่น พ.ท.โพยม จุลานนท์ (บิดาพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีปัจจุบัน) ได้ร่วมทำการยึดอำนาจจากจอมพล ป.แต่ไม่สำเร็จจึงกลายเป็นกบฏที่มีชื่อในประวัติศาสตร์ว่า “กบฏเสนาธิการ” และได้ตัดสินใจเดินทางออกจากเมืองเข้าสู่ เขตป่าเขาชนบท ร่วมสมทบกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2485 ไว้ก่อนแล้ว และจัดตั้งกองกำลังทหารในนาม “กองทัพปลดแอกประชาชนไทย” เข้าต่อสู้กับรัฐบาลโดยใช้นโยบายชนบทล้อมเมืองและยึดเมืองในที่สุด และเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2508 เปิดฉากใช้กำลังอาวุธอันเป็นสัญญาณของสงครามประชาชนที่บ้านนาบัว อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม โดยมีการเรียกขานเชิงสัญลักษณ์ของวันที่ 7 สิงหาคม ว่า “วันเสียงปืนแตก” ซึ่งถือเป็นวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่รุนแรงที่สุดของประเทศไทยด้วยนโยบายทางเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมที่สุดที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยนำเสนอแก้ปัญหาของชาวนาคนยากคนจนที่ไม่มีที่ดินทำกินคือ “การปฏิวัติที่ดิน” เป็นผลให้มีประชาชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมากซึ่งไม่เคยมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองใดๆ ที่เป็นระบบพรรคการเมืองในประเทศไทยที่มีประชาชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก และมีระบบการจัดตั้งที่เข้มแข็ง เช่น พรรคคอมมิวนิสต์ฯ นี้ในประเทศไทยมาก่อนเลย อีกทั้งการก่อตัวของสงครามประชาชนดังกล่าว ก็เชื่อมต่อขบวนการคอมมิวนิสต์ในอินโดจีน และขบวนการคอมมิวนิสต์สากล ซึ่งเป็นกระแสความขัดแย้งของโลกในยุคสงครามเย็นที่แบ่งโลกเป็นสองค่ายระบบเศรษฐกิจการเมืองคือค่ายสังคมนิยม ที่มีรัสเซียและจีนเป็นผู้นำ กับค่ายทุนนิยมที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ
ด้วยสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศไทยที่เชื่อมต่อกับความขัดแย้งของโลกเช่นนี้ ทำให้สหรัฐอเมริกาเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อต่อต้านการขยายตัวของขบวนการคอมมิวนิสต์สากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกาเชื่อใน “ทฤษฎีโดมิโน” ว่าเมื่อประเทศในอินโดจีนถูกเปลี่ยนระบบเป็นคอมมิวนิสต์แล้วประเทศไทยก็จะได้รับผลกระทบโดยเปลี่ยนเป็น “คอมมิวนิสต์” ด้วย และจะเกิดผลกระทบต่อๆ ไปยังประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะเหมือนกับตัวโดมิโนที่ล้มลงต่อๆ กันไป ด้วยเหตุนี้สหรัฐอเมริกาจึงยื่นมือมาจับกับระบอบเผด็จการทหารในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และหนุนสถาบันกษัตริย์ที่มีวัฒนธรรมสืบทอดมายาวนานให้สูงเด่นขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติให้เป็นสถาบันหลักของชาติในการต่อต้านการขยายตัวของขบวนการคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นความลงตัวที่สอดคล้องกันของผลประโยชน์ทางการเมืองระหว่างฝ่ายเจ้า และฝ่ายทหาร เพราะพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะโค่นล้มอำนาจทั้งสองฝ่ายเพื่อเปลี่ยนแปลงสู่ระบบสังคมนิยมตามอุดมการณ์
ในสถานการณ์ความขัดแย้งของโลกดังกล่าวข้างต้นจึงทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทยที่กำลังฟื้นชีวิตจากการเสื่อมทรุดลงหลังเหตุการณ์การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 เกิดความเข้มแข็งขึ้นด้วยการอัดฉีดของสหรัฐอเมริกาอีกทางหนึ่งเพื่อให้ทรงพลานุภาพและจูงใจอำนาจฝ่ายทหารให้สยบต่อฝ่ายเจ้า สหรัฐอเมริกาก็หนุนช่วยงบประมาณทางการทหารอย่างมหาศาลให้แก่รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่มีทิศทางสนับสนุนฝ่ายเจ้าด้วย โดยในขณะนั้นสหรัฐอเมริกาไม่สนใจว่ารัฐบาลจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ เพราะสถานการณ์โลกในขณะนั้นเป็นสถานการณ์ทางการทหารที่กำลังเผชิญหน้ากันหลังจากเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2
ด้วยเหตุนี้อำนาจของฝ่ายเจ้าจึงขยายตัวครอบงำสังคมไทย และพัฒนาบทบาททางอำนาจเด่นชัดขึ้นจนกลายเป็น “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่” อยู่ในขณะนี้
Ù นายดิ่น ท่าราบ เป็นตาของ พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีสมัย คมช.และดำรงตำแหน่งองคมนตรีปัจจุบัน
Ùประกาศของกรมโฆษณาการ คำพิพากษาศาลพิเศษ พ.ศ.2482 เรื่องกบฏ หน้า 16-17 (พระนคร : โรงพิมพ์พาณิชศุภผล)
Ù ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมในประเทศไทยเริ่มต้นเมื่อใด? นักวิชาการส่วนใหญ่มีความเห็นว่าน่าจะเริ่มต้นเมื่อรัชกาลที่ 4 ได้ลงนามในสนธิสัญญาพระราชไมตรีกับเซอร์จอห์น เบาว์ริ่ง เอกอัครราชทูตจากสหราชอาณาจักร เมื่อปี พ.ศ.2398 ที่เรียกว่า สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง
Ù ทิพยวรรณ บุญแท้ 2528 หน้า 133-134 “ความคิดทางการเมืองของปรีดี พนมยงค์ ระยะเริ่มแรก(พ.ศ.2443-2477) วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาการปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Ù ชื่อเดิมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่นายปรีดี ต้องการสร้างคนรุ่นใหม่ขึ้นเพื่อเป็นฐานของระบอบประชาธิปไตย แต่สุดท้ายก็ถูกวัฒนธรรมเจ้าขุนมูลนายของกษัตริย์ครอบงำอีก ด้วยวัฒนธรรมพระราชทานปริญญาบัตรที่มีความสำคัญสูงสุดของการศึกษายิ่งกว่าความรู้จากการเรียน และการมีงานทำ
Ùฟรีเพรส (นามแฝง) 2493, หน้า 17 ใน “นักการเมืองสามก๊ก ตอนที่ 2” (พระนคร: โรงพิมพ์เอกการพิมพ์)
Ùสรรใจ แสงวิเชียร และวิมลพรรณ ปิตธวัชชัย 2517. หน้า 5 “กรณีสวรรคต 9 มิถุนายน 2489” (กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์)
Ù นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้เขียนประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 ที่วิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์และราชวงศ์อย่างรุนแรง และเป็นที่ชิงชังของราชสำนัก และต้องลี้ภัยในกรณีลอบปลงพระชนม์ ไปอยู่ต่างประเทศตลอดชีวิต ล่าสุดพำนักอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส และไม่อาจจะกลับมาตายในผืนแผ่นดินไทยได้ คงกลับมาได้เฉพาะกระดูกเท่านั้น
ÙÙ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 2550.หน้า 56 “แผนชิงชาติไทย” พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพ: บริษัท พี.เพรส. จำกัด)
Ù สมุทร สุรักขกะ 2507.หน้า 364 “ปฏิวัติไทยและรัฐประหารสมัย 2489 ถึง 2507 (พระนคร: สื่อการพิมพ์)
Ùบันทึกสำเนาจดหมายขอขมาของนายตี๋ ศรีสุวรรณ ดูรายละเอียดในหนังสือ “ผู้วางแผนปลงพระชนม์ ร.8 ตัวจริง” สุพจน์ ด่านตระกูล 2551 (กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด)
Ù ผิน ชุณหะวัณ,จอมพล 2513 “ชีวิตกับเหตุการณ์” อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพจอมพลผิน ชุณหะวัณ (กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์), 2516
Ùรัศมี ชาตะสิงห์ 2521 หน้า 384 “บทบาทพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ในฐานะนายกรัฐมนตรี 6 ปีแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Ù สุตมัย ศรีสุข 2510.หน้า 80 ในหนังสือ “ฯพณฯ พลโทหลวงกาจสงคราม (นายพลตุ่มแดง) ยังไม่ตาย” อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พล.ท.กาจ กาจสงคราม 20 เมษายน 2510 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมสื่อสารทหาร)
Ù สิริรัตน์ เรืองวงษ์วาร 2521.หน้า 359 “บทบาททางการเมืองของนายควง อภัยวงศ์ ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึง 2491” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Ù หนังสือพิมพ์ศรีกรุง 12 พฤศจิกายน 2490
Ù แมลงหวี่(นามแฝง) 2490 หน้า 72,”เบื้องหลังประวัติศาสตร์ทางการเมืองของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช” (พระนคร:ไทยวัฒนาพานิช),2511
Ù เฉลิม มะลิลา 2517 หน้า 139 “รัฐประหาร พ.ศ.2500 ในประเทศไทย” วิทยานิพนธ์แผนกวิชาภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Ùประยุทธ สิทธิพันธ์ 2507 หน้า 58 “ชีวิตและงานของจอมพลสฤษดิ์” (ธนบุรี :สำนักพิมพ์กรุงธน)
Ù ผศ.ดร. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ สายธารประวัติศาสตร์ฯ หน้า 86
Ù ไทยน้อย และ กมล จันทรสร 2500, หน้า 337 “วอเตอร์ลูของจอมพลแปลก” (พระนคร: แพร่วิทยา)