Wednesday, May 13, 2009

บทที่ 7 จุดเปลี่ยนอำนาจราชสำนัก

บทที่ 7
จุดเปลี่ยนอำนาจราชสำนัก

เจตนารมณ์ของราชสำนักที่ต้องการทำลายรัฐบาลทักษิณ และ ทุกรัฐบาลที่มีสายสัมพันธ์กับทักษิณ ทำให้เกิดความปั่นป่วนในกลไกการบริหารรัฐในระบอบประชาธิปไตยอย่างมาก และเมื่อถูกแอบแฝงด้วยความมุ่งหมายทางการเมืองที่เป็นปริศนาของแกนนำพันธมิตรฯ ผู้มีภูมิหลังและอุดมการณ์เป็นปฏิปักษ์ต่อราชสำนักด้วยแล้ว การถลำเข้าสู่สนามรบแห่งความคิดทางการเมืองของสตรีผู้สูงศักดิ์ ทำให้พุทธศักราช 2551 กลายเป็นศตวรรษใหม่แห่งการเปิดเผยตัวตนอันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความเสื่อมของราชสำนักอย่างยากที่จะหวนคืน

7.1 สร้างรัฐธรรมนูญ 50 เพื่อตัดอำนาจประชาชน

รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนปี 2540 ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ราชสำนักแต่เก็บความรู้สึกนั้นอย่างเงียบๆ โดยไม่มีใครสังเกตเห็น ด้วยเพราะรัฐธรรมนูญปี 2540 ได้ตัดอำนาจของราชสำนักในการแต่งตั้งวุฒิสมาชิกออกทั้งหมด, การกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนเหมือน ส.ส.เป็นผลให้ราชสำนักไม่สามารถจะควบคุมกลไกสภาได้ทั้งๆ ที่ราชสำนักได้เริ่มต้นฟูมฟักฟื้นอำนาจในสภามาตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่มปี 2490 ที่ฝ่ายทหารจับมือกับราชสำนัก ทำรัฐประหารล้มอำนาจของปรีดี พนมยงค์ ดังนั้นรัฐธรรมนูญปี 2490 จึงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกนับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ที่คืนอำนาจในรัฐสภาครึ่งหนึ่งให้แก่ราชสำนัก โดยกำหนดให้ราชสำนักแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาได้เต็มสภา อีกทั้งรัฐธรรมนูญปี 2540 ได้ให้อำนาจประชาธิปไตยเต็มใบแก่ประชาชน จนส่งผลให้เกิดระบบพรรคใหญ่ที่เข้มแข็ง และรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ ดังนั้นเมื่อรัฐบาลทักษิณ และพรรคไทยรักไทยเป็นผลผลิตของรัฐธรรมนูญปี 2540 อีกทั้งความสามารถเฉพาะตัวในการบริหารจัดการของทักษิณที่หาตัวจับได้ยาก ยิ่งทำให้ราชสำนักวิตกกังวลต่อความมีเสถียรภาพของอำนาจประชาชนที่มาในรูปพรรคการเมืองของชนชั้นนายทุน
ดังนั้นเมื่อทำลายรัฐบาลทักษิณด้วยกำลังทหารแล้วเมื่อ 19 กันยายน 2549 เครือข่ายราชสำนักก็ทำการถอนรากถอนโคนอำนาจทางการเมืองของทักษิณ ต่อด้วยการยุบพรรคไทยรักไทยโดยใช้กำลังตุลาการที่เรียกว่า ตุลาการภิวัฒน์ แล้วจึงได้สถาปนารัฐธรรมนูญปี 2550 ในแบบฉบับอำมาตยาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบขึ้น ด้วยด้านหนึ่งก็ทำลายระบบพรรคการเมืองให้อ่อนแอ โดยให้เอกสิทธิ์ ส.ส. ที่จะไม่ฟังมติพรรคตามมาตรา 122 และตัดอำนาจของรัฐมนตรี และ ส.ส. ตามมาตรา 265-268 ที่จะไม่ให้ ส.ส. เข้ามาเป็นเลขานุการรัฐมนตรี และที่ปรึกษารัฐมนตรี, รวมตลอดทั้งห้าม ส.ส. และรัฐมนตรี เข้ายุ่งเกี่ยวกับงานราชการทั้งหมด เว้นแต่เฉพาะที่เป็นอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย อีกด้านหนึ่งก็ให้อำนาจของระบบข้าราชการเข้าควบคุมรัฐสภา โดยให้อำนาจแก่ศาลทั้ง 3 สถาบัน ร่วมกับองค์กรอิสระ 4 องค์กร ซึ่งทั้งหมดเป็นข้าราชการ โดยเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาครึ่งหนึ่งของสภาวุฒิ และมีอำนาจในการถอดถอน ส.ส. และยุบพรรคการเมือง และเพื่อให้รัฐธรรมนูญปี 2550 ศักดิ์สิทธิ์ ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย ก็นำไปให้ประชาชนลงประชามติ ซึ่งการลงประชามตินั้นก็อยู่ในบรรยากาศอำนาจเผด็จการทหารครอบงำเต็มเปี่ยม โดยรัฐบาลเผด็จการ คมช. ของราชสำนักเป็นผู้คุมกลไกการลงประชามติทั้งหมด แล้วในที่สุดรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็คลอดผ่านมติมหาชนสมใจ
ความสำเร็จของการสร้างรัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่เพียงแต่สร้างความเข้มแข็งให้แก่ราชสำนักด้วยการทำลายระบบพรรคการเมืองเท่านั้น แต่ยังตอบสนองเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่แอบซ่อนไว้ในใจของราชสำนักนั้น ก็คือการเตรียมการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงรัชกาลที่ใกล้จะมาถึง โดย รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 นี้จะสร้างหลักประกันที่มั่นคงต่อรัชกาลใหม่ด้วยอำนาจที่อยู่ในมือของศาลและระบบราชการที่ราชสำนักมีความเชื่อมั่นมากกว่าที่จะปล่อยให้อำนาจอยู่ในมือของนักการเมืองทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อให้การควบคุมกลไกรัฐในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านสู่รัชกาลใหม่เกิดความมั่นคง
ในความสำเร็จสูงสุดตามรัฐธรรมนูญที่เป็นแม่บทของการจัดอำนาจนี้ ก็คือพรรคการเมืองในสายทักษิณจะต้องไม่กลับมามีอำนาจ ดังนั้นด้วยกฎเกณฑ์แห่งรัฐธรรมนูญ และด้วยอำนาจของศาล และองค์กรอิสระที่อำนาจเผด็จการแต่งตั้งขึ้นนี้ จึงได้ผนึกกำลังกันเป็นเครือข่ายราชสำนัก ทำหน้าที่ปิดกั้นพรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นพรรคตัวแทนของทักษิณไม่ให้ได้รับชัยชนะในสนามเลือกตั้ง ตั้งแต่ห้าม ส.ส.หาเสียงโดยเอ่ยชื่อของทักษิณ และชื่อพรรคไทยรักไทย จนถึงกรณี กกต.ประเคนใบแดงใบเหลืองให้แก่ผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคพลังประชาชนอย่างเต็มที่ จนถึงศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค และในระหว่างที่รุมถล่มพรรคพลังประชาชนนี้ พวกองค์กรอิสระและศาลก็ปกป้อง และหนุนช่วยพรรคประชาธิปัตย์อย่างเต็มที่ในสนามการเลือกตั้งทั่วไป โดยผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคแนวร่วมที่วางแผนให้จัดตั้งรัฐบาลร่วมกันทำอะไรก็ไม่ผิด หรือแม้ผิดก็หนักเป็นเบา เช่นควรจะได้ใบแดงก็เปลี่ยนเป็นใบเหลือง และหากหลักฐานเป็นแค่ใบเหลืองก็จะหลุดพ้นโดยประกาศให้เป็น ส.ส.ได้เลย เป็นต้น แต่สิ่งที่ราชสำนักวาดหวังไว้ถึงชัยชนะนี้ สุดท้ายก็ปรากฏชัดว่าเป็นการประเมินพรรคประชาธิปัตย์สูงเกินไป และประเมินวิวัฒนาการทางความคิดของประชาชนต่ำเกินไป ผลลัพธ์ออกมาจึงผิดถนัดคือ พรรคประชาธิปัตย์แพ้อย่างไม่เป็นท่า พรรคพลังประชาชนภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช ในนามตัวแทนของทักษิณกำชัยชนะจากความเชื่อมั่นของประชาชนเป็นอันดับหนึ่งได้ที่นั่ง ส.ส. 233 เสียง เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แม้องค์กรอิสระ กกต. จะมุ่งทำลายล้างด้วยการแจกใบแดง ใบเหลือง อย่างไร จำนวนเสียงพรรคพลังประชาชนก็ยังเป็นอันดับหนึ่งเหนือกว่าพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งได้เพียง 165 เสียง และแม้จะรวมเสียงของพรรคแนวร่วม คมช. ทั้งหมด อันได้แก่ พรรคชาติไทย,พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา,พรรคมัชฌิมา และพรรคประชาราษฎร์ แล้วเสียง ส.ส.ก็ยังไม่อาจจะตั้งรัฐบาลได้ ในที่สุดความฝันของราชสำนักและความคาดหวังของพลเอกเปรม ในฐานะเป็นผู้บริหารจัดการแทนก็พังทลาย ดังนั้นรัฐบาลภายใต้เงาของบารมีทักษิณโดยการนำของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ก็เกิดขึ้นซึ่งได้สร้างความเจ็บปวดรวดร้าวแก่ราชสำนักต่อการกลับมาสู่วงการอำนาจของพ.ต.ท.ทักษิณ อีกครั้งหนึ่งเป็นอย่างมาก





7.2 ประชามติผ่านรัฐธรรมนูญ 50 ทั้งหลอก ทั้งบีบ และข่มขู่

“รับร่างรัฐธรรมนูญก่อนแก้ไขทีหลัง”
ระหว่างการรณรงค์รับร่างรัฐธรรมนูญของรัฐบาลเผด็จการ คมช. กับพรรคประชาธิปัตย์ ก็ประสานเสียงหลอกลวงให้ประชาชนช่วยรับร่างไปก่อน แล้วค่อยมาแก้ไขในภายหลัง ทั้งนี้เพื่อให้มีการเลือกตั้ง บ้านเมืองจะได้เข้าสู่ภาวะปกติ เพราะหากประชามติไม่ยอมให้รัฐธรรมนูญผ่าน พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ในฐานะประธาน คมช.ก็ข่มขู่ว่ามีอำนาจจะเอารัฐธรรมนูญฉบับใดมาใช้ก็ได้ ซึ่งอาจจะเลวร้ายกว่าฉบับนี้ก็ได้ และในทางปฏิบัติที่เป็นจริงระหว่างการขอประชามตินั้น ทหารก็ใช้กองกำลังในทุกพื้นที่ปิดกั้นฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ด้วยการข่มขู่ และจับกุม ยัดข้อหาทางกฎหมายที่รุนแรงโดยอาศัยอำนาจกฎอัยการศึก คอยจับผู้ที่เคลื่อนไหวคัดค้าน โดยมีอำนาจจับกุมคุมขังได้ 7 วัน โดยไม่ให้ประกันตัว
การกระทำการอย่างอุกอาจของทหารประสานกับพรรคประชาธิปัตย์ เป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้อำนาจเผด็จการอย่างผิดทำนองคลองธรรม ทั้งข่มขู่ และหลอกลวง ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เป็นความต้องการของอำนาจที่สูงเหนืออำนาจของทหาร ทุกกลไกรัฐต้องจำยอมซึ่งไม่มีอำนาจใดนอกจากอำนาจของราชสำนัก
การที่ คมช.ทำการยึดอำนาจแล้วร่างรัฐธรรมนูญโดยใช้ปืนขู่บังคับ ทั้งข่มขู่และหลอกลวง กระทำการย่ำยีต่อระบอบประชาธิปไตยเช่นนี้ มีความเลวร้ายกว่าระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มากเหลือเกิน ทำไมพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงตำหนิการกระทำของรัฐบาล คมช.เลย หรือเป็นเพราะว่านายกรัฐมนตรีสุรยุทธ จุลานนท์ มาจากองคมนตรีอะไรจึงดีไปหมด?
เป็นคำถามที่ตอบเป็นอื่นไม่ได้ นอกจากเป็นพระราชประสงค์ของพระองค์

7.3 “รัฐธรรมนูญศักดิ์สิทธิ์” ประกาศิตห้ามแก้

แม้จะถูกบีบบังคับอย่างไร พรรคไทยรักไทยที่แฝงตัวมาในนามพรรคพลังประชาชนก็ได้จับมือร่วมกับองค์กรภาคประชาชนที่รักประชาธิปไตย และเห็นอันตรายของร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ทำการคัดค้านจนจำนวนประชาชนที่ลงคะแนนเสียงคัดค้านมีสูงถึง 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ ทำให้รัฐบาลเผด็จการ คมช.ของราชสำนักเสียหน้า เพราะคะแนนเสียงที่ใช้วิธีการหลอกลวงและข่มขู่มานั้น ชนะไม่เป็นเอกฉันท์ และเมื่อเปิดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป พรรคพลังประชาชนก็ชูนโยบายขอแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นนโยบายหลัก ซึ่งก็ได้รับเสียงตอบรับอย่างท่วมท้นจากประชาชนด้วยการลงคะแนนให้ผู้สมัคร ส.ส.พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง และเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล
เมื่อนายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชาชนได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเข้าบริหารประเทศชาติ ก็ดำเนินการตามนโยบายที่เสนอกับประชาชนในข้อสำคัญคือ ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยใช้แนวรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนปี 2540 เป็นตัวตั้ง เข้าสู่สภาเพียงเท่านั้นเองเสียงคัดค้านที่เป็นเครือข่ายราชสำนักก็ดังกระหึ่มขึ้นทันทีทั้งองค์กรพันธมิตรฯ อาจารย์มหาวิทยาลัยบางคน อดีต สสร.และที่ขาดไม่ได้คือพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นหุ่นเชิดของพลเอกเปรมในสภาก็ออกมาคัดค้านโดยลืมคำพูดที่เคยแถลงต่อประชาชนว่า “ให้รับรัฐธรรมนูญก่อน แล้วแก้ทีหลัง”
นายสมัคร สุนทรเวช ผิดอะไรที่เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ
เมื่อนายสมัครในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชาชนได้เสนอเป็นนโยบายไว้ตอนหาเสียงเลือกตั้ง เมื่อได้มาเป็นนายกรัฐมนตรีก็ดำเนินตามนโยบายที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็เป็นหนทางในระบอบประชาธิปไตย
นายสมัคร ก็เป็นข้ารองพระบาทมายาวนานเมื่อได้เป็นนายกรัฐมนตรีก็ทำหน้าที่บริหารบ้านเมืองตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยแบบไม่มั่วตามแนวพระราชดำรัสที่พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ผู้พิพากษาประจำศาลสำนักงานยุติธรรมเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 แต่กลับถูกรังแกจากม็อบพันธมิตรที่ใครๆ ก็รู้ว่าเป็นม็อบเส้นใหญ่ จนบ้านเมืองปั่นป่วน เพียงเพราะจะยื่นขอแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อสภาตามที่หาเสียงไว้กับประชาชน ทำไมพระองค์ไม่มีพระราชดำรัสเพื่อให้สติแก่สังคมเพื่อไม่ให้สังคมต้องเดินไปสู่ความมั่วอย่างทุกวันนี้
ทำไม?
ทักษิณเป็นนายกโดยได้รับมติมหาชนในปี 2548 เครือข่ายราชสำนักก็กลับไม่ยอมรับโดยกล่าวหาว่าเป็นเผด็จการรัฐสภา เพราะมีเสียงข้างมาก ดังจะเห็นการส่งเสียงของอธิการบดีและอาจารย์มหาวิทยาลัยสายศักดินาสวามิภักดิ์ แต่มาวันนี้เครือข่ายราชสำนักกลับส่งเสียงระเบ็งเซ็งแซ่ แปลงกายเป็นผู้ศรัทธาต่อมติมหาชนอย่างยิ่งด้วยเสียงข้างมากที่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยกล่าวว่า “รัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ห้ามแก้ไข” ไปเสียแล้ว พันธมิตรฯ ม็อบเส้นใหญ่ก็ประกาศอย่างแข็งกร้าวเสมือนเป็นประกาศิตจากฟากฟ้าว่า
“ถ้ารัฐบาลยังขืนแก้รัฐธรรมนูญจะต้องแตกหักกัน”




7.4 ม็อบพันธมิตรฯ ใกล้ชิดราชสำนัก

เจตนาของเครือข่ายราชสำนักได้เปิดเผยตัวเองชัดเจนว่าเจตนาที่แท้จริงไม่ใช่อยู่ที่การคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่อยู่ที่ต้องการล้มอำนาจรัฐบาลของทักษิณให้สิ้นซาก เพราะเมื่อรัฐบาลถอดถอนญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญออกจากวาระของสภาแล้ว ม็อบพันธมิตรฯ ที่ยึดครองสะพานมัฆวาน ปิดถนนราชดำเนิน ก็ไม่ยุติแต่กลับรุกหนักขึ้น โดยขยายข้อเรียกร้องแบบชวนทะเลาะพังบ้าน ด้วยการเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการในสิ่งที่ทำไม่ได้ และยุ่งยากมาก เริ่มจากเรียกร้องให้นายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ลาออก เมื่อนายจักรภพลาออกแล้วก็เรียกร้องให้เอาเขาพระวิหารที่ศาลโลกตัดสินว่าเป็นของกัมพูชามานานตั้งแต่ปี 2505 แล้วคืน แล้วเรียกร้องให้นายสมัคร ลาออกจากนายกรัฐมนตรี
ข้อเรียกร้องที่เลอะเทอะไร้เหตุผลของพันธมิตรฯ ประสานกับการเคลื่อนไหวที่เลอะเทอะผิดกฎหมายตลอดระยะเวลา 6 เดือนเศษติดต่อกัน ทั้งยึดครองทำเนียบรัฐบาล ยึดสถานีโทรทัศน์ช่อง NBT ยึดสนามบินหลายแห่งในภาคใต้ จนถึงปิดตายสนามบินศูนย์กลางของประเทศคือ สุวรรณภูมิ และดอนเมือง ซึ่งไม่มีม็อบที่ไหนในโลกนี้จะกระทำได้โดยรัฐบาลไม่กล้าปราบปราม แต่สภาวะความไร้เหตุผลนี้ แกนนำม็อบพันธมิตรฯ ก็ได้สร้างเรื่องที่คนทั้งสังคมต้องตกตะลึงโดยไม่มีใครกล้าแตะต้อง คือม็อบพันธมิตรฯ ได้ประกาศตัวเองต่อสาธารณะ ย้ำแล้วย้ำเล่าว่าพวกเขาเป็นม็อบที่จงรักภักดี และดำเนินการประท้วงเพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของราชสำนัก และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมเด็จพระราชินีเป็นผู้ให้การสนับสนุน
นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้กล่าวบนเวทีพร้อมแสดงหลักฐานตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการหลายครั้งซ้ำแล้วซ้ำเล่า อย่างเป็นรูปธรรมเช่น
- นายสนธิได้ประกาศว่าเขาได้รับเงินสนับสนุนจากสตรีผู้สูงศักดิ์ที่มอบให้เป็นเงิน 400,000 บาท โดยเงินที่นำมามอบให้บรรจุไว้ในกระเป๋าของโครงการศูนย์ศิลปาชีพ
- นายสนธิประกาศว่าได้รับผ้าพันคอสีฟ้า และมีสัญลักษณ์ที่เป็นพระนามย่อ “สก.” ของสมเด็จพระราชินีปรากฏอยู่ จากราชสำนักโดยนายสนธิได้ใช้ผ้าพันคอนี้ผูกที่คอแสดงต่อสาธารณะตลอดการชุมนุม และนำผ้าพันคอเช่นเดียวกันนี้แจกจ่ายให้แก่ผู้ชุมนุม รวมตลอดทั้งได้ใช้ธงสีฟ้าที่มีพระนามย่อ “สก.” ดังที่กล่าวนี้โบกสะบัดในการเคลื่อนไหวของฝูงชนตลอดเวลา และในวันเดินขบวนไปยึดสถานีโทรทัศน์ NBT ในเช้าของวันที่ 26 สิงหาคม 2551 ก็ถือธง “สก.” โบกนำหน้าไปด้วย
- นายสนธิ และพรรคพวกใช้เสื้อสีเหลืองซึ่งเป็นสีวันพระราชสมภพของพระเจ้าอยู่หัวเป็นสีสัญลักษณ์ของกลุ่มผู้ชุมนุม โดยกำหนดให้ผู้ชุมนุมทุกคนใส่เสื้อยืดสีเหลือง เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดี รวมตลอดทั้งได้ใส่เสื้อยืดสีเหลืองนี้ ไปกระทำการที่ผิดกฎหมายต่างๆ ในระหว่างการชุมนุม ซึ่งสังคมมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมในการกระทำในสัญลักษณ์นี้ แต่ก็ไม่มีการดำเนินการใดๆ ทางกฎหมาย แม้ศาลอาญาจะเคยมีคำพิพากษาระบุรายละเอียดถึงความไม่เหมาะสมของการใช้เสื้อสีเหลืองของม็อบพันธมิตรฯ และไปกล่าวให้ร้ายผู้อื่นในคดีหมิ่นประมาทที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นโจทก์ ฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล จำเลย มาแล้วก็ตาม
- ตลอดการชุมนุม แกนนำพันธมิตรฯ ก็กล่าวอ้างตลอดเวลาว่าได้รับการสนับสนุนน้ำดื่มตรา “สวนจิตรดา” ซึ่งเป็นชื่อสำนักพระราชวังที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัว และเป็นสินค้าของราชสำนัก จากคนของราชสำนัก
- ในวันที่ 24 สิงหาคม 2551 นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้นำเทปซึ่งอ้างว่าเป็นพระสุรเสียงของสมเด็จพระนางเจ้าฯ ที่ทรงอัดเสียงเป็นการส่วนพระองค์ในห้องปฏิบัติธรรมมาเปิดให้ที่ชุมนุมฟังก่อนที่ผู้ชุมนุมจะไปเวียนเทียนในวันอาสาฬหะบูชา เพื่อเป็นสิริมงคล ซึ่งคำกล่าวอ้างนี้ได้โน้มน้าวให้ผู้ชุมนุม ประชาชน และข้าราชการทั่วไปเชื่อว่านายสนธิเป็นผู้ใกล้ชิดราชสำนักจริง เข้า-ออกวังได้เหมือนคนในราชสำนัก ถึงขนาดได้รับเทปอัดพระสุรเสียงเกี่ยวกับธรรมะเป็นการส่วนพระองค์ได้
ที่กล่าวข้างต้นนี้ เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของการกล่าวอ้างที่เกิดขึ้นตลอดเวลาของการชุมนุมนานเกือบ 7 เดือน บนถนนราชดำเนิน ในทำเนียบรัฐบาลในสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง โดยไม่มีใครกล้าดำเนินคดีกับนายสนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำผู้กล่าวอ้าง ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเลย ซึ่งสังคมได้รับทราบถึงบรรทัดฐานทางกฎหมาย และวัฒนธรรมของไทยดีว่าการกล่าวอ้างถึงองค์พระมหากษัตริย์ และรัชทายาทในทางที่จะหาผลประโยชน์แม้แต่เล็กน้อย นั้นเป็นการไม่บังควรและเป็นเรื่องที่ต้องห้ามซึ่งจะถูกเจ้าหน้าที่ดำเนินการทางกฎหมายอย่างเด็ดขาด แต่ปรากฏว่านายสนธิ และแกนนำผู้กล่าวอ้างทุกคนไม่ถูกดำเนินการทางกฎหมายใดๆ เลย อีกทั้งเหตุการณ์หนึ่งที่ช็อคความรู้สึกของประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างไม่คาดฝันคือเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2551 สมเด็จพระราชินีได้เสด็จไปเป็นประธานเผาศพนางสาวอังขณา ระดับปัญญาวุฒิ หรือน้องโบว์ หญิงสาวที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่กลุ่มพันธมิตรฯ ปิดล้อมสำนักงานตำรวจนครบาลในตอนเย็นของวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่พันธมิตรฯ ปิดล้อมรัฐสภา โดยทรงพระเมตตาให้บิดา มารดา พี่น้องของนางสาวอังขณา ได้เข้าเฝ้าใกล้ชิด และมีพระราชปฏิสัณฐานกับครอบครัวของผู้เสียชีวิตว่า “น้องโบว์เป็นวีรสตรีผู้ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์” เพียงเท่านี้ทุกคนก็เชื่อว่าม็อบพันธมิตรฯ ใกล้ชิดราชสำนักจริง

7.5 ทำลายรัฐบาลเงาทักษิณ โดยไม่สนใจความถูกต้อง

“เมื่อฉันสั่งให้ออกไปแล้ว ยังจะหวนกลับมา และยังชนะฉันอีก”
ด้วยความชิงชัง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นส่วนตัว ดังนั้นชัยชนะของพรรคพลังประชาชนจึงกลายเป็นความผิดที่ร้ายแรงที่ทักษิณจะต้องได้รับโทษเพราะในอดีตที่เคยมีมานั้น ไม่เคยมีนายกฯ คนใดที่ถูกเล่นงานจนตกอำนาจไปแล้ว สามารถหวนกลับคืนมามีอำนาจใหม่ได้ ดังนั้นการทำลายรัฐบาลเงาแห่งอำนาจของทักษิณจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำโดยเร่งด่วนโดยไม่ต้องคำนึงถึงความถูกต้องของระบบการเมือง และระบบกฎหมาย
ด้วยเป็นที่รู้กันภายในว่าเป็นพระราชประสงค์ของพระองค์มาตั้งแต่ต้น พรรคการเมืองและกลุ่มทหารต่างๆ ที่ต้องการอำนาจโดยมิชอบ จึงฉกฉวยโอกาสนี้ตอบสนองพระราชประสงค์ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดพลังมวลชนเกลื่อนถนนเพื่อทำลายล้างอำนาจรัฐของทักษิณอีกครั้งอย่างไร้เหตุผลในระบอบประชาธิปไตยขึ้น โดยการขับเคลื่อนขององค์กรพันธมิตรฯ ร่วมมือกับพรรคประชาธิปัตย์ก่อหวอดนับตั้งแต่วันแรกของการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งเริ่มเมื่อต้นปี 2551 การชุมนุมขับไล่รัฐบาลเริ่มต้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 โดยรัฐบาลพึ่งบริหารประเทศได้ไม่พอ 4 เดือนเท่านั้น
เริ่มต้นจากการปิดถนนราชดำเนิน โดยอ้างว่าเป็นการชุมนุมอย่างสันติตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ แล้วต่อมาก็ลามไปถึงการยึดทำเนียบรัฐบาล ยึดสถานีโทรทัศน์ และยึดสนามบิน โดยมีกองกำลังติดอาวุธที่มีมีด ไม้ ปืน และระเบิด ปรากฏต่อสาธารณะอย่างชัดเจน แต่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองไม่กล้าแตะต้องหรือขัดขวางใดๆ จนเป็นผลให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยชอบด้วยกฎหมายต้องถูกโค่นล้มไปต่อหน้าต่อตาใน 3 ปี ถึง 3 รัฐบาล (2549-2551) ด้วยข้ออ้างที่ไร้เหตุผล แล้วกลุ่มผู้ทำลายรัฐบาลก็ฉกฉวยเอาอำนาจของประชาชนไปดื้อๆ โดยพระเจ้าอยู่หัวก็ไม่ทรงทักท้วงใดๆ ต่อการกระทำอันไม่ถูกต้องนั้นทั้งๆ ที่พระองค์ทรงแสดงตัวเป็นผู้ทรงคุณธรรม เป็นพ่อของแผ่นดิน และทรงตำหนิท้วงติงการกระทำอันไม่ถูกต้องทางสังคมในกรณีอื่นๆ มาโดยตลอด พระองค์ทรงมีพระราชอำนาจเต็มเปี่ยม และอยู่ในฐานะที่จะแสดงพระราชอำนาจได้ แต่พระองค์กลับนิ่งเฉย
ด้วยเหตุการณ์วุ่นวายไม่เคารพกฎหมายตลอด 3 ปีเต็มๆ ที่ผ่านมาเช่นนี้ ทำให้นักวิเคราะห์ข่าว นักวิชาการ งุนงงต่อปรากฏการณ์ของพลังมวลชนอันเข้มแข็งที่ผิดธรรมชาติ และกล้าหาญที่จะกระทำผิดกฎหมายอย่างอุกอาจโดยผู้สื่อข่าวที่ไม่รู้ถึงภูมิหลังก็จะวิเคราะห์ไม่ออกว่าเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และบางคนถึงขนาดวิเคราะห์ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ก้าวหน้าของพลังมวลชนไทย โดยให้เกียรติ์ยกย่องแกนนำโดยเรียกขานว่า “ปรากฏการณ์สนธิ” และวิเคราะห์ถึงอนาคตของการเมืองไทยไปต่างๆ นานาแบบคาดเดา โดยผู้วิเคราะห์ไม่รู้เนื้อแท้ของระบอบการปกครองของไทยว่าแท้จริงแล้วเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นอะไรก็เกิดขึ้นได้ในบ้านเมืองนี้
พฤติกรรมทางการเมืองของม็อบพันธมิตรก็ดี การนิ่งเฉยของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองต่อการกระทำผิดที่เห็นเป็นประจักษ์ต่อหน้าต่อตาก็ดี การออกมาสัมภาษณ์สนับสนุนของบรรดาอาจารย์มหาวิทยาลัยสายศักดินาสวามิภักดิ์ก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นสัญญาณทางสังคมที่เห็นชัดเจนว่า ราชสำนักไม่ประสงค์แม้แต่เงาของทักษิณให้ทาบติดอยู่ที่รัฐบาล
การทำลายรัฐบาลสมัคร และรัฐบาลสมชายจึงชัดเจนว่าเป็นสัญญาณจากราชสำนัก

7.6 พระราชดำรัสกระทบรัฐบาลท่ามกลางม็อบล้มรัฐบาล


ในขณะที่สถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เพื่อขับไล่รัฐบาลสมัครกำลังคุกรุ่น ก็อยู่ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็ได้ออกนโยบาย “ 6 เดือน กระตุ้นเศรษฐกิจ” และนโยบายนี้ขัดแย้งกับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นว่าต้องลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุน แต่ผู้ว่าการธนาคารฯ ไม่เห็นด้วย ปรากฏว่าในขณะนั้นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับพระราชทานวโรกาศให้เข้าเฝ้า และพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัส โดยถ่ายทอดออกโทรทัศน์มีข้อความสำคัญที่บ่งบอกถึงสถานการณ์ของรัฐบาลว่าจะอยู่หรือไปว่า
“ขอบใจที่เหน็ดเหนื่อยเรื่องการเงิน ซึ่งเป็นงานหนัก และสามารถปฏิบัติงานด้านการเงินเป็นที่เรียบร้อยไม่ให้บ้านเมืองล่มจม แม้ตอนนี้ใกล้ล่มจมแล้ว ซึ่งอาจใช้เงินไม่ระวังเพราะใช้เงินไม่ระวัง ขอบใจที่ท่านระวังเรื่องการดำเนินด้านการเงิน ขอให้สำเร็จในการบริหารการเงินของประเทศชาติ ขอบใจท่านที่เหน็ดเหนื่อยเรื่องการเงิน เรารู้ว่าท่านเหน็ดเหนื่อย ลำบากใจ นอกจากเหน็ดเหนื่อยแล้วยังถูกหาว่าทำไม่ได้ดี ทำไม่ถูกต้อง ขอบใจทุกคนที่มาในวันนี้ และยังทำงานอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้บ้านเมืองมีเงินใช้ ใครที่บริหารการคลังควรรู้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญของชาติบ้านเมือง”Ù
แต่ปรากฏว่าหลังจากกลุ่มพันธมิตรล้มรัฐบาลนายสมัคร และรัฐบาลนายสมชายแล้ว โดยเกิดรัฐบาล “เทพประทาน” ที่มีนายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ ก็ได้นำนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลนายสมัครนี้ ไปดำเนินการต่อในเดือนมกราคม 2552 ซึ่งมีรายละเอียดหนักหน่วงยิ่งกว่านโยบายสมัยนายสมัครอีก ถึงขั้นมีการหว่านเงินเละเทะเพียงเพื่อหาเสียงทางการเมือง เช่นนโยบายแจกเงิน 2,000 บาท ให้แก่คนประมาณ 9 ล้านคนที่อื้อฉาว เป็นต้น โดยเฉพาะกำหนดให้มีการลดดอกเบี้ยในรูปธรรมเดียวกันกับรัฐบาลนายสมัคร ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยก็ปฏิบัติตามโดยดี และในครั้งนี้ดูการกระทำของรัฐบาลน่าเป็นห่วงยิ่งกว่า แต่พระเจ้าอยู่หัวกลับไม่มีพระราชดำรัสใดๆ ในเชิงตำหนิรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์เลย
นายอภิสิทธิ์ และนายกร ใช้เงินอย่างระวังหรือ?

7.7 ม็อบเส้นใหญ่ ผบ.ทบ.ไม่กล้าแตะ

การกระทำของม็อบพันธมิตรฯ ได้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนในกรุงเทพฯ ในช่วงเริ่มต้นและขยายตัวเป็นจลาจลโดยบุกเข้ายึดทำเนียบรัฐบาลอย่างถาวร ประชาชนที่ติดตามข่าวสารเกิดความโกรธแค้นเมื่อเจ้าหน้าที่บ้านเมืองไม่กล้าดำเนินการ จึงรวมตัวบุกกลุ่มม็อบพันธมิตรฯ สถานการณ์ที่เลวร้ายเช่นนี้ได้ก่อให้เกิดความไม่สบายใจของประชาชน จนคนทั้งบ้านทั้งเมืองรุมด่ารัฐบาลว่าทำไมไม่ดำเนินการทางกฎหมายอย่างเด็ดขาดกับบุคคลเหล่านั้น จนกระทั่งรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ถึงจุดแตกหักทางอารมณ์ที่ไม่อาจจะอดทนได้ต่อข้อมูลลับว่ามีอำนาจเบื้องสูงให้การสนับสนุน เพราะได้เกิดการปะทะกันระหว่างคนม็อบพันธมิตรฯ กับประชาชนที่โกรธแค้นจนเกิดการเสียชีวิตขึ้นในคืนวันที่ 2 กันยายน 2551 นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีผู้ที่ขึ้นชื่อว่าใกล้ชิดราชสำนักที่สุด ก็ประกาศภาวะฉุกเฉินและโดยผลแห่งกฎหมายอำนาจการจัดการอย่างเด็ดขาดจึงตกอยู่ที่ผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งจะต้องดำเนินการให้บ้านเมืองกลับสู่ความสงบโดยเร็ว แต่สิ่งที่ทุกคนต้องตกตะลึงก็คือ พลเอกอนุพงศ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบกไม่กล้าปฏิบัติตามกฎหมาย และได้กล่าวเป็นวลีประวัติศาสตร์ที่จะต้องจดบันทึกเป็นรอยด่างของภารกิจทหารที่จะต้องรักษาความสงบว่า
“ทหารไม่เกี่ยว เป็นเรื่องทางการเมือง ต้องแก้ด้วยการเมือง”
จากท่าทีที่นิ่งเฉยของ ผบ.ทบ. แม้จะมีประกาศภาวะฉุกเฉินที่ถือว่าเป็นยาแรงที่ชอบด้วยกฎหมายที่สุดที่มอบให้แล้วเช่นนี้ ทำให้สังคมไทยเชื่อแน่ว่าพันธมิตรฯ คือ “ม็อบเส้นใหญ่” จริง และจากเหตุการณ์นี้ก็ทำให้ผู้ร่วมชุมนุมทุกคนเกิดความฮึกเหิมว่าราชสำนักได้ส่งสัญญาณอย่างเปิดเผยให้ล้มรัฐบาลโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสมัครได้อย่างไม่เคยมีครั้งใดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยปรากฏมาก่อนเลย และเมื่อนายสมัครยังไม่ยอมลาออก การก่อความรุนแรงของม็อบพันธมิตรฯ จึงขยายตัวไปสู่การพยายามจะก่อจลาจลยึดสภา และเข้ายึดสนามบินในรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จนกลายเป็นความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อบ้านเมือง
หลักฐานที่ยืนยันชัดเจนอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่งว่า ม็อบพันธมิตรฯ เป็นม็อบที่ราชสำนักให้การสนับสนุน ก็คือการตอบกระทู้ถามที่ฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรตั้งกระทู้ถามนายกฯ สมชาย แต่นายกฯ สมชายได้มอบหมายให้พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ตอบ ซึ่งคำตอบของพล.ต.อ.โกวิท ได้สร้างความตกตะลึงแก่สังคมอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนโดยตอบว่า “พันธมิตรเป็นม็อบเส้นใหญ่ ถ้าไม่มีเส้น ผมจัดการเสร็จไปนานแล้ว”

7.8 เส้นทางสู่วังของนายสนธิอันอื้อฉาว

นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้ใช้กลยุทธ์การสร้างข่าวลือด้วยวิธีการเล่นกับข่าวลือโดยหยิบข่าวลือที่อื้อฉาวมาขึ้นเวทีปราศรัยซ้ำแล้วซ้ำเล่าคือ กรณีข่าวอื้อฉาวกับท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทยภรรยาของนาย สุรเกียรติ เสถียรไทย ซึ่งเป็นบุตรสาวของ มรว.บุษบา และเป็นหลานสาวแท้ๆ ของสมเด็จพระราชินี ด้วยวิธีการหยิบข่าวลือที่อยู่ใต้ดินชิ้นเล็กๆขึ้นมาปฏิเสธโดยนำไปปราศรัยบนเวทีการชุมนุมของพันธมิตรฯ หลายครั้ง แล้วทุกอย่างก็เป็นไปตามความประสงค์ เกิดการแพร่สะพัดไปทั่วสังคมว่า นายสนธิได้กลายเป็นราชหลานเขยของสมเด็จพระราชินีไปเสียแล้ว ซึ่งข่าวในลักษณะนี้จะจริงหรือเท็จก็ไม่มีใครจะยืนยันได้ และที่สำคัญที่สุดก็ไม่ควรจะหยิบฉวยข่าวในลักษณะนี้มากล่าวในที่สาธารณะไม่ว่าจะรับหรือปฏิเสธเพราะมันเสียหายต่อผู้หญิงที่ถูกพาดพิงถึงทั้งขึ้นทั้งล่อง แต่ด้วยเพราะกลยุทธ์ “แบล็คเมล์” แบบนักหนังสือพิมพ์น้ำเน่าที่ชอบทำกัน แต่กรณีนี้นายสนธิยอมลงทุนเป็นเหยื่อข่าวที่ปรุงเองกินเองเพราะต้องการสร้างความสำคัญให้กับตัวนายสนธิเอง ซึ่งนายสนธิไม่มีอะไรจะสูญเสียจากกรณีนี้เลยในทางการเมือง เนื่องจากเป็นบุคคลล้มละลาย และ “สิ้นไร้ไม่ตอก” ทางการเมืองแล้ว ดังนั้นในกรณีนี้นายสนธิมีแต่ได้กับได้เท่านั้น
นายสนธิได้ใช้กลยุทธ์เช่นนี้กับข่าวต่างๆ ที่จะนำตัวเองไปสู่ความสัมพันธ์กับราชสำนักอีกหลายข่าวเท่าที่จะพอบันทึกไว้ได้ เช่น การได้ไปพบกับ มรว.บุษบา กิติยากร น้องสาวของพระราชินี ที่วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี ของหลวงตาบัว เนื่องจากต่างคนต่างก็เป็นลูกศิษย์ ซึ่งหลวงตาบัวเป็นเกจิอาจารย์ที่มีลูกศิษย์มาก และอาวุโสมากแล้ว ก็เป็นธรรมชาติของคนแก่ที่ชอบคนเอาใจใกล้ชิด ถ้าลูกศิษย์คนไหนห่างไปก็จะไม่ชอบ คนในสำนักวัดป่าบ้านตาดรู้ดี เช่นกรณีที่รู้กันทั่วสำนักฯ ว่า เดิมนายทองก้อน ลูกศิษย์คนโปรดซึ่งเคยเป็นแกนนำประท้วงต่อต้านสมเด็จพุฒาจารย์ (เกี่ยว) ขึ้นรักษาการแทนสมเด็จพระสังฆราช แต่ต่อมาก็เกลียดไม่ให้เข้าวัดเป็นต้น นักการเมืองดังๆ ก็เคยมี เช่น เดิมเคยโปรดนายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในสมัยนายชวนเป็นนายกฯ ใหม่ๆ แต่ต่อมาก็เกลียด, พ.ต.ท.ทักษิณก็อยู่ในฐานะคล้ายกัน ตอนขึ้นมาเป็นนายกฯ ใหม่ๆ ก็รัก ต่อมาเมื่อห่างไปก็เกลียด เมื่อนายสนธิ มาเป่าหูด้วยก็เชื่อเช่นนั้น ซึ่งนายสนธิรู้ดีว่าหลวงตาบัวเป็นเกจิอาจารย์ที่ราชสำนักโปรดปราณ โดยเฉพาะสมเด็จพระราชินี และ มรว.บุษบา ก็มาปฏิบัติธรรมที่สำนักนี้บ่อย เมื่อนายสนธิเกาะติดสำนักนี้ หลวงตาบัวจึงกลายเป็นตัวเชื่อมระหว่างนายสนธิกับ มรว.บุษบา แล้วหม่อมบุษบาก็เป็นผู้พานายสนธิไปเข้าเฝ้าสมเด็จฯ เพื่อกราบบังคมทูลข้อมูลต่างๆ ที่ให้ร้ายต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งในขณะนั้นปีกหนึ่งของเครือข่ายราชสำนักก็ระแวงไม่ไว้ใจทักษิณอยู่เป็นทุนเดิมแล้ว ด้วยเหตุนี้ข่าวการเข้าไปในราชสำนักของนายสนธิ จึงสอดคล้องกับข่าวลือต่างๆ ทั้งหมดที่ว่านายสนธิใกล้ชิดราชสำนัก และเกื้อหนุนการเคลื่อนไหวของขบวนการพันธมิตรฯ

7.9 ตุลาการภิวัฒน์ทำราชสำนักเสื่อมทรุด (ก่อน 19 ก.ย. 49)

ในเหตุการณ์ทางการเมืองของไทยที่ผ่านๆ มาในอดีต ศาลได้แสดงบทบาทไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองโดยตรงมาโดยตลอด แต่ในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมืองปลายรัชกาลนี้ ราชสำนักได้ดึงสถาบันศาลลงมาใช้ควบคู่กับสถาบันทหารที่เหม็นโฉ่มานานแล้ว,เริ่มต้นที่เห็นชัดจากกรณีที่พระเจ้าอยู่หัวได้กล่าวต่อศาลปกครองที่เข้าเฝ้าถวายสัตย์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ว่า
“ก็เขาเลือกตั้งอยู่คนเดียว ซึ่งมีความสำคัญเพราะว่าถ้าไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์แล้ว ก็เขาคนเดียว ในที่สุดการเลือกตั้งไม่ครบสมบูรณ์ ไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องเหมือนกัน......แล้วก็อีกข้อหนึ่ง การที่จะบอกว่ามีการยุบสภาและต้องเลือกตั้งภายใน 30 วัน ถูกต้องหรือไม่ ไม่พูดเลย ไม่พูดกันเลย ถ้าไม่ถูกต้องก็จะต้องแก้ไข แต่ก็อาจจะให้การเลือกตั้งนี้เป็นโมฆะ หรือเป็นอะไรซึ่งท่านจะมี จะมีสิทธิ์ที่จะบอกว่าอะไรที่ควร ที่ไม่ควร”
พระราชดำรัสนี้จึงเป็นเสมือนสัญญาณบ่งบอกเจตนาของราชสำนักต่อตัวนายกฯ ทักษิณ เพราะขณะนั้นพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ “บอยคอร์ต” ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเพราะรู้ว่าลงเลือกตั้งก็แพ้พรรคไทยรักไทย เพราะประชาชนนิยมในตัว พ.ต.ท.ทักษิณมาก และเมื่อพรรคประชาธิปัตย์จับมือกับกลุ่มพันธมิตร เพื่อโค่นล้มรัฐบาลของทักษิณนอกสภา นายกฯ ทักษิณจึงแก้ปัญหาทางการเมืองตามครรลองระบอบประชาธิปไตย ด้วยการยุบสภา ซึ่งเป็นเรื่องที่ชอบด้วยเหตุผลแล้ว และศาลก็ไม่กล้าที่จะตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ดังนั้นพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัวจึงเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดแจ้งที่สุดว่าต้องการให้ล้มรัฐบาลพรรคไทยรักไทย และนับแต่นั้นองค์กรศาลสูงทั้ง 3 สถาบัน ได้แก่ ศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญ ก็ผนึกกำลังเพื่อปฏิบัติการทางการเมืองเพื่อสนองพระราชดำรัสกันอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การประสานงานของผู้พิพากษาชื่อ “ไอ้เจี๊ยบ” เด็กเลี้ยงในบ้านสี่เสา โดยมีเป้าหมายเพื่อทำลายอำนาจของรัฐบาลทักษิณ และรัฐบาลเงาของทักษิณ รวมตลอดทั้งทำลายตัวทักษิณเองอย่างถึงที่สุดด้วย โดยเครือข่ายราชสำนักสายอาจารย์มหาวิทยาลัย ต่างออกมาขานรับการกระทำนอกลู่นอกทางของศาลทั้ง 3 สถาบัน ว่าถูกต้อง โดยไม่รู้ว่าจะให้เหตุผลว่าอะไร ก็บัญญัติศัพท์มาให้ไพเราะแต่เข้าใจยากว่า“ตุลาการภิวัฒน์” ซึ่งมีความหมายว่าตุลาการทำการปฏิวัติ ซึ่งก็คือผู้พิพากษาไม่ต้องตัดสินคดีอยู่ในหลักเกณฑ์ตามตัวบทกฎหมายแล้ว แต่ตัดสินตามนโยบายเพื่อเป้าหมายทางการเมือง ต่อมาเมื่อประชาชนเห็นความจริงของตุลาการภิวัฒน์มากเข้าก็บัญญัติศัพท์ใหม่เพื่อให้ตรงกับความจริงว่า “ตุลาการวิบัติ”
เริ่มจากศาลปกครองสงขลา เคยตัดสินว่าไม่มีอำนาจตัดสินคดีเลือกตั้งก็พลิกกลับว่ามีอำนาจ และตัดสินการเลือกตั้งที่จังหวัดสงขลา เมื่อ 2 เมษายน 2549 ตามที่นายถาวร เสนเนียม ส.ส.ประชาธิปัตย์ จังหวัดสงขลา ร้องเรียนว่ามีพรรคไทยรักไทยพรรคเดียวนั้นไม่ชอบ และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญที่เคยนิ่งเฉยก็ถูกบีบให้ออกมาตัดสินว่าการเลือกตั้งเมื่อ 2 เมษายน 2549 เป็นโมฆะทั้งหมด ด้วยเหตุผลข้างๆ คูว่า เนื่องจาก กกต.ชุดที่ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ เป็นประธานจัดหน่วยลงคะแนนให้ประชาชนกาบัตรหันหลังออกจึงถือว่าไม่เป็นความลับ เพราะคนอื่นอาจจะเห็นได้ โดยศาลรัฐธรรมนูญไม่แตะต้องเรื่องการสมัครรับเลือกตั้งพรรคเดียวตามที่มีพระราชดำรัส เพราะตามข้อเท็จจริงมีพรรคเล็กๆ หลายพรรคลงสมัครเพียงแต่พรรคหลักๆ เช่น ประชาธิปัตย์ ชาติไทย เท่านั้น ที่ไม่ลง
เมื่อสิ้นเสียงการอ่านคำพิพากษาการเลือกตั้งโมฆะ ก็มีเสียงไชโยโห่ร้องของกลุ่มพันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันทางการเมืองในสถานการณ์เฉพาะหน้าซึ่งเป็นสัญลักษณ์ชัดเจนว่ากระบวนการยุติธรรมไทยได้ถูกบงการแล้วภายใต้การชี้นำของพลเอกเปรม ประธานองคมนตรี ที่ทำหน้าที่ประธานเครือข่ายราชสำนัก
ธงชัยแห่งเหตุตุลาการวิบัติได้เริ่มต้นแล้ว
เมื่อประกาศเลือกตั้งเป็นโมฆะ ตามขั้นตอนของกฎหมายก็ต้องเตรียมการเลือกตั้งใหม่ เกมส์ต่อไปก็จะต้องเปลี่ยนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุด พล.ต.อ.วาสนา ที่เครือข่ายราชสำนักเห็นว่าเป็นองค์กรสำคัญที่มีบทบาทกำหนดว่าพรรคใดจะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ด้วยการแจกใบเหลืองใบแดงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยเห็นว่ากลุ่ม กกต. ทั้ง 5 คน เป็นพวกของทักษิณ โดยเฉพาะพล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธาน กกต. ดังนั้นกลุ่มพันธมิตรฯ จึงออกเดินขบวนไปชุมนุมกันที่หน้าที่ทำการ กกต.และปักหลักพักแรมอยู่ที่นั่นเพื่อกดดันให้ กกต.ลาออกโดยใช้สัญลักษณ์เพื่อทำลายภาพลักษณ์ กกต.ว่า “อย่างหนาห้าห่วง” ซึ่งเป็นการถากถางโดยนำข้อความมาจากโฆษณากระเบื้องบุงหลังคาตราห้าห่วงที่ทั้งหนาทั้งทนและก็ตรงกับจำนวน กกต. 5 คนที่อดทนไม่ยอมลาออก และคำว่า “หนา” ก็เป็นการล้อเลียนชื่อของประธาน คำว่า “วาสนา” แต่แล้ว กกต.ทั้งหมดก็ยังอดทนอยู่เพราะรู้ดีว่าถ้าลาออกทั้งหมด บ้านเมืองจะวุ่นวายเพราะกกต.เป็นกลไกสำคัญของการเลือกตั้ง และขณะนั้นพึ่งเลือกตั้งเสร็จยังไม่ได้ประกาศผลเป็นที่เรียบร้อย กกต.จึงไม่มีทางเลือกอย่างอื่น แต่มีกกต. เพียงคนเดียวที่ลาออกคือ พล.อ.จารุภัทร เรืองสุวรรณ ซึ่งมีความใกล้ชิดกับพลเอกเปรม และจากข่าววงในปรากฏว่าพลเอกเปรมได้เรียก กกต.ทุกคนเข้าพบ และขอให้ลาออก ถ้าไม่ลาออกจะติดตารางทุกคน สุดท้ายข่าวลือที่เป็นความลับนี้ก็ถูกเปิดเผย โดย ผู้พิพากษาซึ่งเป็นเลขานุการของนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกาในขณะนั้นคือนายจรัล ภักดีธนากุล และนายวิรัช ชินวินิจกูล เลขาสำนักงานศาลฎีกา ได้ออกมายืนแถลงข่าวคู่กับผู้ช่วยคือ นายไพโรจน์ วรานุช หรือ “ไอ้เจี๊ยบ” (ผู้พิพากษาซึ่งเป็นที่รู้กันทั้งวงการศาลและหมู่เพื่อนรัฐศาสตร์จุฬาฯ รุ่น 25 ว่าเป็นเด็กเลี้ยงในบ้านที่พลเอกเปรมเลี้ยงดูส่งเรียน และมีรสนิยมทางเพศเหมือนเจ้าของบ้าน) ว่าหาก กกต.ไม่ลาออกจะต้องติดตาราง เพราะการติดตารางแม้วันเดียวโดยกฎหมายก็จะทำให้ขาดคุณสมบัติการเป็น กกต.ทันที การแถลงข่าวในนามศาลฎีกาเช่นนั้น ถือเป็นความอัปยศอย่างที่สุด เพราะขณะนั้น กกต.ทุกคนยังมิได้เป็นจำเลยในศาลเพียงแต่ตกเป็นผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนของตำรวจที่นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้กล่าวหาเท่านั้น การแสดงความอาฆาตมาดร้ายของตัวแทนศาลฎีกาต่อ กกต.ที่ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาในศาลเลยเช่นนี้ จึงเป็นการสร้างความเสื่อมเสียให้แก่สถาบันศาลอย่างยิ่ง และดูเหมือนว่า พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ และ กกต.ทุกคนที่ยังยืนหยัดอยู่จะรู้ชะตากรรมดี โดยประธาน กกต.ได้แถลงข่าวว่าตัวเองมีเทปลับที่อัดจากการพูดโทรศัพท์ของบุคคลสำคัญคนหนึ่งที่ข่มขู่ตนให้ลาออก ไม่เช่นนั้นจะติดตะรางแต่ไม่อาจจะเปิดเผยได้ เพราะเป็นการกล่าวพาดพิงถึงบุคคลชั้นสูง จะขอเปิดเผยในงานศพของตนเท่านั้น จากคำประกาศของพล.ต.อ.วาสนา นี้ได้ถูกโจษขานกันต่างๆ นานาอย่างเข้าใจความเป็นจริงของการเมืองไทยว่าเป็นเผด็จการทั้งทางการเมือง และเผด็จการทางวัฒนธรรม และทันทีเมื่อ กกต.ที่เหลืออยู่เดินขึ้นศาลอาญา ในฐานะจำเลย ศาลก็ตัดสินลงโทษให้จำคุกทั้งหมด และไม่อนุญาตให้ประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ ดังนั้นกรรมการการเลือกตั้งซึ่งทั้งหมดล้วนแต่เป็นอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ปฏิบัติหน้าที่ทางราชการมาโดยไม่มีประวัติด่างพร้อยมาก่อน ซึ่งถูกตรวจสอบและเลือกเฟ้นมาจากรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญปี 2540 ก็ต้องเดินเข้าคุกโดยไม่ได้รับความปราณีท่ามกลางคำถามเงียบๆ ในหัวใจของผู้คนทั้งสังคมว่า “บรรทัดฐานของศาลที่เคยอนุญาตให้จำเลยที่ประกอบคดีอุกฉกรรจ์เช่น ฆ่าคนตาย หรือค้ายาเสพย์ติด ประกันตัวในระหว่างอุทธรณ์คดีได้นั้น แล้วทำไมจึงไม่ให้ กกต.ที่เป็นอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ประกันตัว” ทั้งๆ ที่คดีนี้ก็เป็นคดีการเมืองซึ่งเป็นเรื่องของความคิดเห็นเกี่ยวกับการวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งเมื่อ 2 เมษายน 2549 นั้นชอบหรือไม่ จากรูปธรรมการกล่าวหาว่าการจัดคูหาเลือกตั้งของ กกต.ที่ให้หันหลังออกนั้นชอบหรือไม่ชอบนั้นดู “หน่อมแน้ม” ที่สุด ดังนั้นการตัดสินของศาลให้กกต.ทั้งหมดมีความผิด ลงโทษติดคุก และไม่ยอมให้ประกันตัวชั้นอุทธรณ์เพียงเพื่อให้หลุดจากตำแหน่งด้วยผลของกฎหมาย จึงเห็นชัดว่าเป็นคำพิพากษาที่เกิดขึ้นจากนโยบายการเมืองของราชสำนัก และที่ร้ายยิ่งกว่านั้นที่แสดงถึงความอาฆาตมาดร้ายตามคำประกาศิต ก็คือกว่าจะประกันตัวได้ต้องนอนในคุกหลายคืน ทั้งๆ ที่นอนคุกเพียงคืนเดียวก็ได้ผลตามนโยบายการเมืองแล้ว
เพียงแค่บทเริ่มต้นของตุลาการภิวัฒน์ ก็เห็นชัดเจนแล้วว่าเป็นสัญญาณอันตรายของราชสำนักที่มอบอำนาจเชิงสัญลักษณ์เป็นกรณีพิเศษให้แก่ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม และศาลรัฐธรรมนูญÙ เพื่อทำลาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งผู้คนในสังคมก็เริ่มเห็นความวิปริตของกระบวนการยุติธรรม แต่ทุกคนก็เชื่อมั่นอยู่ในใจว่าสถาบันศาลคงไม่กล้าเดินออกนอกลู่นอกทางไปมากกว่านี้ แต่นั่นเป็นเพียงความเชื่อมั่นที่ประชาชนมีต่อศาล แต่แล้วความเชื่อมั่นก็พลันสูญสลาย เพราะความจริงของระบอบการปกครองของไทยมิใช่เป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีการตรวจสอบถ่วงดุล และประชาชนมิได้มีสิทธิจริงตามที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ หากแต่เป็นระบอบปกครองที่อำนาจทั้งหมดรวมศูนย์อยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ การมีรัฐธรรมนูญ และตัวบทกฎหมายจึงเป็นเพียงกระดาษเปื้อนหมึก ที่มิได้รับรองสิทธิของพลเมืองจริง ,ตัวบทกฎหมายจึงเป็นเพียงรูปแบบเพื่อแต้มสีสันให้ อำนาจที่รวมศูนย์อยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์เกิดความชอบธรรม สามารถดำรงอยู่ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ได้ตราบเท่าที่การกระทำผิดกฎหมายมิได้กระทบกระเทือนถึงผลประโยชน์ของพระองค์
จากโครงสร้างเช่นนี้ จึงเป็นรูปธรรมชัดเจนที่อธิบายถึงระบอบการปกครองที่เรียกว่า “สมบูรณาญาสิทธิราชใหม่” และความจริงของ “ตุลาการวิบัติ” ก็ปรากฏเด่นชัดขึ้น! และ เด่นชัดขึ้น! ภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ทั่วโลกเชื่อว่าเป็นคำสั่งที่ออกจากราชสำนัก


7.10 ตุลาการภิวัฒน์ ราชสำนักทรุดหนัก (หลัง 19 ก.ย. 49)

หลังเหตุการณ์ยึดอำนาจเมื่อ 19 กันยายน 2549 แล้วขบวนการตุลาการภิวัฒน์ได้แสดงบทบาทที่ไม่ยึดหลักกฎหมายมากยิ่งขึ้น และแต่ละคดีที่เกี่ยวโยงกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อเปรียบเทียบกับคดีอื่นๆ แล้วจะเห็นว่าศาลได้ใช้มาตรฐานที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นจึงเห็นชัดว่าคำวินิจฉัยของศาลในคดีการเมืองต่างๆ นั้น ผูกติดกับความต้องการของราชสำนัก จึงยิ่งสร้างความเสื่อมทรุดให้แก่ราชสำนักมากขึ้น โดยรวบรวมเหตุการณ์เบื้องหลังคดีที่มัวหมองดังนี้

7.10.1 คดียุบพรรคไทยรักไทย
ความเป็นตุลาการวิบัติ เริ่มต้นจากผู้พิพากษาที่ยอมรับคำสั่งของพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะผู้ยึดอำนาจที่ออกคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้พิพากษาอาวุโสจากศาลฎีกามาเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิกรรมการทั้งหมด 111 คน เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2550 เพียงพรรคเดียว โดยเก็บพรรคประชาธิปัตย์ไว้ทั้งๆ ที่ ทั้งสองพรรคต่างก็เป็นจำเลยด้วยกันในคดียุบพรรคโดยรายละเอียดของคำพิพากษาก็ทิ่มแทงพรรคไทยรักไทยว่าเลวร้ายอย่างไม่มีชิ้นดี เหมือนกับเป็นคำแถลงการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นพรรคคู่แข่งทางการเมืองทีเดียว
ดูเหมือนจะเป็นที่รู้กันทั้งสังคม ในขณะนั้นว่าศูนย์กลางควบคุม และจัดการอยู่ที่บ้านสี่เสาเทเวศน์ และทันทีที่มีการอ่านคำพิพากษายุบพรรค ,ประชาชนที่เห็นความไม่ชอบมาพากลมาก่อนหน้านี้แล้ว ก็ได้รวมตัวกันภายใต้ชื่อว่า แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้าน เผด็จการ (นปก.) ประท้วงคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญทันทีที่อ่านจบ ณ ที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญ แล้วก็ขยายตัวเป็นการชุมนุมใหญ่ปักหลักที่สนามหลวงแล้วเคลื่อนตัวไปประท้วงพลเอกเปรมที่บ้านพักสี่เสาเทเวศน์เสมือนเป็นการชี้เป้าให้สังคมเห็นว่าพลเอกเปรมนั้นเองคือประธานเครือข่ายราชสำนักที่กำลังสร้างความเสื่อมเสียอย่างหนักให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยที่พลเอกเปรมเป็นประธานองคมนตรี แต่กลับใช้อำนาจบารมีของพระองค์เข้าแทรกแซงทางการเมือง

7.10.2 คดีที่ดินรัชดา
จากคำพิพากษายุบพรรคตัดสิทธิกรรมการแล้ว ก็มาสู่เรื่องอื้อฉาวที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง (เป็นศาลพิเศษมีศาลเดียวจำเลยห้ามอุทธรณ์ ฎีกา) ได้ตัดสินจำคุก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี 2 ปี ในคดีที่คุณหญิงพจมานฯ ภรรยา ประมูลซื้อที่ดินถนนรัชดาจากการขายทอดตลาดโดยเปิดเผยเป็นราคาประมาณ 700 ล้านบาท ก็แสดงให้เห็นถึงกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เป็นธรรม เพราะศาลตัดสินว่าการซื้อที่ดินนั้นถูกต้องคุณหญิงพจมานได้รับที่ดินไปครอบครองแต่ทักษิณผิดที่เซ็นอนุญาตให้ภรรยาซื้อที่ดินได้ ฟังดูแปลกเต็มที เพราะโดยกฎหมายผัวเมียนั้นใครจะไปทำนิติกรรมอีกฝ่ายต้องอนุญาต แต่ศาลกลับตัดสินเอาผิดเมื่อเปรียบเทียบคดีกับอดีตนายกฯ ที่มาจากราชสำนักในคดีคล้ายกัน กรณี พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีที่มีลักษณะคดีเกี่ยวกับที่ดินเหมือนกัน และเป็นการกระทำผิดชัดเจนยิ่งกว่ากรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ คือเรื่องภรรยาของพลเอก สุรยุทธซื้อที่ดินที่ยอดเขายายเที่ยงที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นที่ดินป่าสงวนแท้ๆ ที่ไม่อาจจะจับจองหรือซื้อขายกันได้ และซื้อเพียง 50,000 บาท แต่กลับไม่มีการดำเนินคดีใดๆ จึงเห็นชัดเจนว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ
พ.ต.ท.ทักษิณ รู้ถึงอำนาจที่อยู่เบื้องหลัง ตุลาการดีแต่ไม่อาจจะกล่าวถึงโดยตรงได้ จึงให้สัมภาษณ์อย่างมีนัยสำคัญในต่างประเทศผ่านทางวีดีทัศน์ในการชุมนุมใหญ่ของประชาชนคนเสื้อแดงที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ที่สนามกีฬารัชมังคลาเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2551 ว่า “ขบวนการยุติความเป็นธรรม”

7.10.3 สองคดีม็อบตัดสินไม่เหมือนกัน
กรณีม็อบพันธมิตรยึดทำเนียบฯ และบริเวณถนนโดยรอบถูกปิดตาย โดยเฉพาะการปิดถนนพิษณุโลกหน้าทำเนียบได้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่นักเรียน และครูโรงเรียนราชวินิจ เพราะรถยนต์ของผู้ปกครองไม่อาจจะนำส่งและรับนักเรียนได้ ประกอบกับเสียงจากเวทีปราศรัยก็ดังหนวกหูมาก นักเรียนเรียนหนังสือไม่ได้ ดังนั้นครูและนักเรียนจึงร่วมกันฟ้องต่อศาลเพื่อเป็นการปกป้องสิทธิของตน และขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งตามคำขอคุ้มครองชั่วคราว ปรากฏว่าศาลที่รับฟ้องเรื่องนี้เป็นศาลแพ่งที่ผู้พิพากษาส่วนใหญ่เป็นศาลใหม่ เป็นคนหนุ่มคนสาว ที่ไม่มีส่วนได้เสียเมื่อรับคดีก็วินิจฉัยตามข้อกฎหมาย ให้การคุ้มครองโดยให้พันธมิตรถอนตัวจากการปิดถนนที่ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นครูและนักเรียนเดือดร้อน และยุติการกระจายเสียงในเวลาเรียน เพราะถือว่าพันธมิตรได้ใช้สิทธิทางกฎหมายเกินส่วนทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ซึ่งในสายตาของสุจริตชนทั่วไปก็ชื่นชมต่อคำพิพากษาที่ยืนอยู่บนหลักกฎหมาย แต่ปรากฏว่าต่อมาม็อบพันธมิตรได้ถอนกำลังไปใช้พื้นที่หน้ากระทรวงศึกษาแทน โดยมีพฤติกรรมปิดถนน เปิดปราศรัยทั้งวันทั้งคืนเช่นเดียวกันกับที่กระทำต่อครูและนักเรียนราชวินิจ แต่คราวนี้เป็นข้าราชการกระทรวงศึกษา ดังนั้นข้าราชการที่เดือดร้อนจึงยื่นฟ้องเป็นคดีต่อศาลแพ่ง และยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวเช่นเดียวกับที่ครูและนักเรียนโรงเรียนราชวินิจเคยยื่นฟ้องและยื่นคำร้อง แต่คราวนี้ศาลกลับวินิจฉัยแปลกโดยตัดสินไปคนละทางกับคดีก่อนโดยไม่ให้การคุมครอง ซึ่งเป็นที่ฮือฮามาก ว่าทำไมศาลมีมาตรฐานไม่เหมือนกัน ซึ่งมารู้ความจริงในภายหลังว่าผู้พิพากษาผู้ใหญ่ซึ่งเป็นผู้บริหารได้มีคำสั่งหลังจากที่ศาลเคยตัดสินให้เปิดทางแล้วว่า คดีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองให้ส่งสำนวนขึ้นไปให้อธิบดีพิจารณาจ่ายสำนวน (มิใช่รับสำนวนคำฟ้องตามเวร) ให้แก่ศาลโดยอธิบดีศาลจะเป็นผู้เลือกผู้พิพากษามาพิจารณาคดี
กรณีนี้ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าศาลตกอยู่ใต้อิทธิพลของผู้อยู่เบื้องหลังม็อบพันธมิตรที่ใครๆ ก็รู้และต่างขนานนามว่า “ม็อบเส้นใหญ่”

7.10.4 คดีสมัครฯ ทำกับข้าวหลุดจากนายกฯ
หลังการยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 ขับไล่ทักษิณไปแล้ว รัฐบาล คมช.ภายใต้การนำของพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ องคมนตรี ก็จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับรวบหัวรวบหาง และกองทัพก็เกณฑ์กองกำลังออกควบคุม และหนุนช่วยพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อให้ชนะการเลือกตั้งตามการชี้นำของพลเอกเปรม ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 แต่ก็ยังไม่สามารถจะกำจัดทักษิณออกจากอำนาจการเมืองได้ และที่ทำให้พลเอกเปรมเจ็บปวดที่สุดก็คือ นายสมัคร สุนทรเวช ศัตรูเก่าทางการเมือง และเป็นผู้ใกล้ชิดราชสำนักสายองคมนตรีธานินทร์ กรัยวิเชียร ที่แก่งแย่งความเป็นผู้จงรักภักดีกับพลเอกเปรมมายาวนาน ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี โดยการสนับสนุนของ พ.ต.ท.ทักษิณ อีกจนได้ ซึ่งทำให้การใช้อำนาจครอบงำการบริหารจัดการรัฐของพลเอกเปรมเป็นไปได้ยากกว่าสมัยที่ทักษิณเป็นนายกฯ เสียอีก อีกทั้งจะโค่นล้มนายกฯ สมัคร ด้วยข้อหายอดนิยมว่าไม่จงรักภักดีก็เป็นไปได้โดยยาก อีกทั้งนายสมัครก็เป็นนักสู้ทางการเมืองในระบอบรัฐสภาที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานที่สู้รบตบมือกับพวกม็อบในสายตาของเขาว่าเป็นพวก “แก๊งข้างถนน” มาแล้วอย่างขึ้นชื่อลือชา และแล้วเหตุการณ์ก็บ่งบอกความจริงดังการคาดหมาย เมื่อนายสมัคร สุนทรเวช นั่งในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เพียงแค่ 3 เดือน ตูดไม่ทันร้อนพลเอกเปรมก็ทนไม่ไหว แล้วม็อบพันธมิตรก็ก่อตัวขึ้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2551 โดยมีเป้าหมายแท้จริงคือเพื่อโค่นล้มรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ,นายกฯ สมัคร ก็ออกมาตอบโต้สู้อย่างยิบตา แม้ราชสำนักสายหนึ่งจะส่งสัญญาณว่าสนับสนุนอยู่ข้างหลังม็อบพันธมิตรฯ แต่นายกฯ สมัครก็ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น และอาศัยความใกล้ชิดพระเจ้าอยู่หัว และตำแหน่งหน้าที่ของตนเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวเพื่อถวายรายงานอย่างชนิดที่บุคคลอื่นกระทำได้ยาก จนเกิดความสับสนในเบื้องต้นของเครือข่ายราชสำนักในการรับสัญญาณทางการเมืองจากเบื้องบนว่า จะเอาอย่างไรแน่
นายสมัครได้แสดงให้เห็นถึงความใกล้ชิด และความไว้วางพระราชหฤทัย ตั้งแต่เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 จนถึงปัจจุบัน เมื่อมาเป็นนายกรัฐมนตรี เช่นมีข่าวว่าทหารจะทำการรัฐประหารให้เสร็จสิ้นเสียโดยเร็วตามการชี้นำของพลเอกเปรมอีกครั้งหนึ่งหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยแกนนำเหล่าทัพได้ไปประชุมกันที่บ้านสี่เสาเทเวศร์อย่างลับๆ ในคืนวันอังคารที่ 6 พฤษภาคม 2551 แต่เมื่อความแตกปรากฏเป็นข่าวเล็กๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจเพียงฉบับเดียวในวันรุ่งขึ้นวันพุธ นายสมัครก็แสดงศักยภาพใกล้ชิดเบื้องยุคลบาททันที โดยในคืนของวันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม 2551 นายสมัครก็เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวโดยกะทันหันเพื่อถวายรายงานสถานการณ์ทันที เล่นเอาพลโทประยุทธ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1(ยศในขณะนั้น) ในฐานะทหารเสือพระราชินี ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเป็นผู้ใกล้ชิดสมเด็จพระราชินี และเป็นที่จับตาว่านายทหารคนนี้แหละที่จะเป็นแกนนำหากมีการยึดอำนาจต้องอ่อนยวบลงทันที
ในภาวะความปั่นป่วนเช่นนี้ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ดูเหมือนจะกุมสถานการณ์ได้มั่น จึงไม่ยอมปล่อยให้สถานการณ์เกิดความสับสน จึงเร่งยกระดับสงครามให้รุนแรงขึ้น โดยนำม็อบบุกเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล แต่ปรากฏว่าพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ก็ยังนิ่งเฉยแม้นายสมัคร จะประกาศภาวะฉุกเฉิน การนิ่งเฉยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของ ผบ.ทบ.แม้จะเป็นการส่งสัญญาณให้เห็นว่าเบื้องหลังม็อบนั้นมีเส้นใหญ่หนุนหลังอยู่จริง แต่ด้วยลักษณะพิเศษของนายสมัคร ปรากฏว่าก็ยังไม่ยอมลาออก และยังกัดฟันสู้ ซึ่งเหตุการณ์นี้เท่ากับเป็นการยืนยันโดย ผบ.ทบ.แล้วว่าเบื้องบนไม่เอาสมัคร แล้วแต่ ผบ.ทบ.ก็อยู่ในฐานะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ถ้าจะทำการปฏิวัติตามใจเบื้องบน บ้านเมืองก็จะพัง แต่ถ้าจะดำเนินการตามกฎหมายกับกลุ่มพันธมิตรฯ ก็เป็นการขัดใจเบื้องบน สุดท้ายจึงเลือกทางออกที่ดีที่สุดคืออยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร ในที่สุดเหตุการณ์จึงบีบบังคับให้เครือข่ายราชสำนักจำต้องใช้อำนาจตุลาการวิบัติที่เปิดโปงความไร้หลักนิติธรรมจากการยื่นฟ้องคดีของสว.เรืองไกร ลูกสมุน คมช.ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ปลดสมัครออกจากอำนาจ โดยศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ทำหน้าที่อย่างดียิ่งตามความประสงค์ของราชสำนักที่จะเอาสมัครออกไป จึงพิพากษาว่าให้นายสมัครพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในข้อหาได้ประโยชน์จากการทำกับข้าวโชว์ทางโทรทัศน์ ซึ่งนายสมัคร เป็นผู้จัดรายการทำครัวมานานกว่า 7 ปีก่อนที่จะเป็นนายกฯ แล้ว เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2551 ตามคำวินิจฉัยที่ 12-12/2551 โดยศาลตีความว่าเป็นความผิดตามความหมายในพจนานุกรมในเรื่องลูกจ้าง ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญผู้ตัดสินหลายคน เช่น นายจรัล ภักดีธนากุล ก็เป็นลูกจ้างหาประโยชน์จากการสอนหนังสือ ตามความหมายในพจนานุกรมเหมือนกันแต่กลับไม่เป็นไร
ต่อมาสังคมก็ยิ่งเห็นชัดเจนมากขึ้นว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยได้กลายเป็นกระบวนการยุติความเป็นธรรมแล้ว เมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ถูกราชสำนักอุ้มให้มาเป็นนายกรัฐมนตรี (หลังจากม็อบพันธมิตรได้กดดัน และศาลรัฐธรรมนูญได้ใช้อำนาจตัดสินล้มอำนาจนายกฯ สมัคร สุนทรเวช และนายกฯ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ แล้ว) ก็ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่านายอภิสิทธิ์ มีคดีติดตัวคือหนีการเกณฑ์ทหาร ซึ่งเป็นความผิดร้ายแรง แต่นายอภิสิทธิ์ กลับลอยนวลเป็นนายกฯ ได้ จนกลายเป็นที่กล่าวขานกันอย่างสนุกสนานในวงการทูตในประเทศไทยว่า นายกฯ ทำกับข้าวมีความผิดรุนแรงกว่านายกฯ หนีทหาร
ความผิดที่ศาลลงโทษนายกฯ ซึ่งเป็นประมุขฝ่ายบริหารเช่นนี้ จึงเป็นสิ่งที่ไร้เหตุผลที่สุดในสายตาคนไทย และในสายตาชาวโลก และกลายเป็นเรื่องล้อเลียนในการ์ตูนทางการเมือง และข่าวตลกทางการเมืองของสื่อทั้งโลก

7.10.5 คดีปลดนายกฯ สมชาย
เมื่อนายสมัครต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยใช้คำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญอันชวนหัว ก็ไม่อาจจะสยบพลังที่เชื่อมั่นในความถูกต้องของระบอบประชาธิปไตยของทักษิณได้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขย สามีของนางเยาวภา ชินวัตร ก็ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีอีก ท่ามกลางความไม่พอใจของราชสำนักอย่างรุนแรง
ความต้องการที่จะล้มรัฐบาลนายกฯ สมชายได้ถูกดำเนินการอย่างเร่งด่วนด้วยเพราะใกล้วันเฉลิมฉลองพระชนม์พรรษาวันที่ 5 ธันวาแล้ว และราชสำนักไม่ต้องการให้นายกฯ สมชายเข้าเฝ้า, ระยะเวลา 2 เดือนนับจากเดือนตุลาคม จึงต้องเร่งเกมส์ให้จบ ดังนั้นเครือข่ายราชสำนักโดยพันธมิตรและพรรคประชาธิปัตย์จึงต้องเปิดตัวชัดเจนพร้อมด้วย สว.กลุ่ม 40 ผนึกกำลังกัน ปิดล้อมรัฐสภาโดยมี ส.ส.สมเกียรติ พงศ์ไพบูลย์(แกนนำพันธมิตร) นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.จังหวัดระยอง นายถาวร เสนเนียม ส.ส.จังหวัดสงขลาÙ (ต่อมาได้รับปูนบำเหน็จเป็นรัฐมนตรีช่วยมหาดไทย) และอีกหลายคนได้นำรถยนต์ติดตราพรรคออกหนุนช่วยม็อบพันธมิตรที่นำกำลังล้อมรอบปิดทางประตูทางเข้า-ออก สภาในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 เพื่อไม่ให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีนำคณะรัฐมนตรี แถลงนโยบายต่อสภาภายใน 15 วัน นับแต่วันเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะมีผลทำให้นายสมชายต้องพ้นตำแหน่งนายกฯ ทันทีตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะนั้นเป็นวันที่ใกล้จะครบกำหนด 15 วันแล้ว โดยกลุ่ม สว. 40 เช่น นางรสนา โตสิกะตระกูล ก็เปิดเกมส์ตีโต้ในสภาให้นายกฯ สมชาย ลาออกจนสภาปั่นป่วน ส่วนข้างนอกสภากลุ่มพันธมิตรฯ ก็วางแผนก่อจลาจลด้วยการเตรียมรถบรรทุกระเบิด “คาร์บอม” และนักรบศรีวิชัย ตระเตรียมอาวุธปืน ระเบิดปิงปอง มีด ไม้ เพื่อปะทะกับเจ้าหน้าที่ โดยกีดขวางไม่ให้คณะรัฐมนตรี และสมาชิกรัฐสภาเข้าไปในรัฐสภาได้ แต่หากขัดขวางไม่สำเร็จก็จะจัดการระเบิดประตูสภาด้วยคาร์บอม แล้วมวลชนพันธมิตรฯ ก็จะฮือบุกเข้าสภาซึ่งจะเกิดภาวะจลาจลเพื่อกดดันให้ฝ่ายทหารทำการยึดอำนาจล้มรัฐบาลนายสมชายเงาอำนาจของทักษิณให้ได้ และหลักฐานที่ยืนยันถึงแผนการอันเลวร้ายนี้โดยไม่คำนึงถึงการเสียชีวิตของใครทั้งสิ้นของแกนนำพันธมิตรฯ ก็คือคำประกาศบนเวทีม็อบพันธมิตรของนายสนธิ ในขณะเกิดเหตุการณ์ ปิดล้อมสภาว่า “นายสมชาย จะต้องออกจากนายกฯ ภายใน 6 โมงเย็น นี้”Ùแต่เดชะบุญรถยนต์บรรทุกระเบิดที่จอดคอยไว้อยู่หน้าพรรคชาติไทย ซึ่งห่างจากสภาประมาณ 200 เมตร ที่มี พ.ต.ท.เมธี ชาติมนตรี หรือสารวัตรจ๊าบ ซึ่งเป็นแกนนำฝ่ายการทหารคนสำคัญของพันธมิตรฯ น้องเขยนายการุณ ใสงาม สว.สายประชาธิปัตย์ เป็นผู้ควบคุมโดยจะจุดระเบิดด้วยสัญญาณโทรศัพท์ แต่เกิดอุบัติเหตุจาก สัญญาณโทรศัพท์ที่ภรรยาโทรเข้าไปหาทำให้วงจรระเบิดทำงานก่อนกำหนดจึงเกิดระเบิดขึ้นอย่างรุนแรงก่อนเวลาปฏิบัติการเพียงเล็กน้อย(กำหนดการประมาณจะ 4 โมงเย็น) เป็นผลทำให้สารวัตรจ๊าบเสียชีวิตทันทีจากแรงระเบิด และตำรวจก็ได้ตัดสินใจยิงแก๊สน้ำตาเปิดทางจนเป็นเหตุจลาจลลุกลามจากสภาขยายตัวไปปิดล้อมสำนักงานตำรวจนครบาลที่อยู่ใกล้ๆ ตั้งแต่นั้นตลอดคืนของวันที่ 7 ตุลาคม มีผู้คนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก แต่ผู้บัญชาการทหารบกก็ไม่ยอมที่จะทำการรัฐประหาร ทำให้ราชสำนักไม่พอใจ โดยในคืนนั้นนายสนธิได้ขึ้นปราศรัยด่าทอพลเอกอนุพงศ์ ผบ.ทบ.อย่างรุนแรง และกล่าวหาว่าไม่ยอมออกมายึดอำนาจเป็นการขัดพระประสงค์ และแล้วปัญหาที่สงสัยงุนงงทั้งหมดว่าม็อบเส้นใหญ่หมายถึงใคร ก็ไขคำตอบด้วยการที่สมเด็จพระราชินี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานเผาศพ “น้องโบว์”Ùด้วยพระองค์เอง และ ยกย่องเป็นวีรสตรีผู้พลีชีพเพื่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และพระราชทานเพลิงศพให้แก่สารวัตรจ๊าบด้วย
แม้เหตุการณ์จะเปิดเผยชัดเจนแล้วว่าพระองค์คือผู้สนับสนุนการกระทำของพันธมิตรฯ มาโดยตลอดเพื่อโค่นล้มรัฐบาลทักษิณ เริ่มตั้งแต่เมื่อ 19 กันยายน 2549 และล้มรัฐบาลนายสมัคร ซึ่งเป็นตัวแทนของทักษิณ แต่ปรากฏว่านายกฯ สมชาย น้องเขยทักษิณก็ยังดื้อรั้นอยู่ต่อไป ราชสำนักต้องการจะกำจัดรัฐบาลเงาของทักษิณให้สิ้นซากด้วยการใช้ม็อบพันธมิตร ก็ยังไม่สำเร็จ จะกำจัดด้วยการให้ทหารยึดอำนาจก็ติดที่ พลเอกอนุพงศ์ ผบ.ทบ.ขวางทางวางเฉยไม่ยอมทำ ทำให้พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ทหารเสือราชินีคนสนิทจึงไม่อาจจะขยับได้ในสถานการณ์ที่ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเช่นนี้ ในที่สุดนายสนธิ ลิ้มทองกุล กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาพรรคประชาธิปัตย์ ก็แสดงตนตอบสนองพระราชประสงค์อันเกินความคาดหมายของมนุษย์ที่ยังไม่เสียสติที่จะคาดการได้นั่นก็คือ ได้ทุ่มเทกำลังมวลชนเข้ายึดสนามบินนานาชาติของประเทศไทยทั้งหมดในกรุงเทพฯ คือ สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง เพื่อกดดันให้รัฐบาลสมชายหมดอำนาจไปไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆ ก็ตาม แม้ว่าบ้านเมืองจะพังพินาศไปต่อหน้าต่อตา ซึ่งเป็นมาตรการสุดท้ายที่รุนแรงสุด จนกลายเป็นปัญหาของนานาชาติ เพราะประชาชนทุกชาติต้องอกสั่นขวัญหาย ตกค้างอยู่ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เพราะสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ฝ่ายทหารก็ยังนิ่งเฉยทั้งไม่ยึดอำนาจ และก็ไม่ดำเนินการทางกฎหมายใดๆ อีกเช่นกัน รวมตลอดทั้งนายสมชาย ก็ยังดื้อสู้ไม่ลาออกจากนายกฯ และหนีไปตั้งหลักที่จังหวัดเชียงใหม่ที่มีมวลชนคนรักทักษิณหนาแน่นคอยปกป้อง และขณะนั้นก็ใกล้วันสำคัญของชาติ คือวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ซึ่งพระองค์จะมีพระชนมายุครบ 81 พรรษา
ด้วยสถานการณ์ที่บีบรัด และไม่มีองค์กรรัฐหน่วยงานใดกล้าเข้ามาปราบปรามเหตุการณ์จลาจล และเข้ามาล้มรัฐบาลนายสมชายที่ไม่ทรงโปรดได้ และในระหว่างนั้นก็มีข่าวลือแพร่สะพัดไปหมดว่าเครือข่ายราชสำนักจะต้องทำทุกวิถีทางไม่ให้นายกฯ สมชายเป็นผู้นำการถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปีนี้ได้ ซึ่งขณะนั้นหมายกำหนดการของสำนักพระราชวังได้กำหนดให้มีการสวนสนามของกองทหารรักษาพระองค์ ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ในวันที่2 ธันวาคม 2551 เวลา 15.00 น. ,นายกฯ สมชาย ในฐานะรัฐมนตรีกลาโหมจะต้องเข้าเฝ้าเป็นวันแรกของพระราชพิธี แล้วข่าวลือก็เป็นจริงโดยเครือข่ายราชสำนักได้ตกลงกันใช้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือดำเนินการปลดนายกฯ สมชาย ในคดียุบพรรคโดยเร่งดำเนินการรวบหัวรวบหางเล่นงานนายกฯ สมชาย วันที่ 2 ธันวาคม ทั้งๆ ที่วันนั้นเป็นวันนัดพิจารณามิใช่วันนัดตัดสินคดี แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็ดำเนินการอย่างทุลักทุเลจนเสร็จสิ้นก่อนเวลาสวนสนามอย่างหวุดหวิดจนได้
การแสดงออกของศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 2 ธันวาคม 2551 จึงกลายเป็นละครราคาถูกด้วยการเขียนบทละครอย่างเร่งด่วนให้ศาล-ทหาร-ตำรวจ-พันธมิตรฯ เล่นให้ประสานกันโดยมีเป้าหมายคือ ทำลายรัฐบาลตัวแทนทักษิณให้จงได้ ข่าวนี้ได้รั่วไหลออกไปจึงมีประชาชนผู้รักความเป็นธรรมกลุ่มใหญ่ รวมตัวกันไปปิดล้อมศาลรัฐธรรมนูญ ทำ ให้ผู้พิพากษาต้องย้ายไปอ่านคำพิพากษาที่ศาลปกครองแทน ทำให้บรรยากาศการพิจารณาคดีโบว์ดำของศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นไปอย่างทุลักทุเล กว่าจะเริ่มได้ก็เป็นเวลาเกือบเที่ยง
ในวันที่ 2 ธันวาคม นั้นตรงกับวันนัดพิจารณาคดียุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย แต่ปรากฏว่าศาลได้แอบทำคำพิพากษาไว้ล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว บรรยากาศในห้องพิจารณานั้น ตัวแทนของพรรคการเมืองที่เป็นจำเลยจะแถลงขอสืบพยานใดๆ ศาลก็ไม่อนุญาต ดังนั้นตัวแทนทุกพรรคฯ จึงขอยื่นคำแถลงปิดคดี ศาลก็เพียงรับไว้แต่ไม่อ่าน แล้วศาลก็รีบหยิบคำพิพากษาที่ตัดสินยุบพรรคทั้งหมดที่แอบเขียนไว้ล่วงหน้าขึ้นมาอ่านทันที โดยอ่านผิดๆ ถูกๆ เช่นใช้ชื่อพรรคพลังประชาชนไปเขียนไว้ในสำนวนยุบพรรคชาติไทย เป็นต้น และแม้จะถึงเวลาเที่ยง ศาลก็ไม่พักการพิจารณาโดยพยายามจะอ่านคำพิพากษาเพื่อให้นายสมชาย หมดอำนาจลงให้ได้ก่อนจะถึงเวลาสวนสนามของทหารรักษาพระองค์เวลา 15.00 น. ปรากฏว่าอ่านคำพิพากษาเสร็จประมาณ 14.00 น.
เวลาที่ล็อคไว้หวุดหวิดจริงๆ
ทันทีที่มีคำพิพากษาทำให้นายกฯ สมชายหมดอำนาจลงทันทีกลุ่มพันธมิตรฯ ก็ติดต่อ ทหาร ตำรวจ เพื่อเตรียมถอนตัวออกจากสนามบิน และทำเนียบนายกฯ และก็ประกาศชัยชนะทันที ซึ่งเป็นที่ผิดสังเกตว่าเมื่อครั้งศาลตัดสินให้นายสมัครหลุดจากนายกฯ เพราะทำกับข้าว หากใช้มาตรฐานเดียวกันพันธมิตรฯ ก็น่าจะประกาศชัยชนะ และถอนตัวจากทำเนียบ และยุติความวุ่นวายเสียได้ แต่ขณะนั้นกลับ ไม่ทำ
จากข้อเท็จจริงที่กล่าวข้างต้นนี้ คำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ กรณียุบพรรคพลังประชาชน นี้จึงเป็นประจักษ์พยานชัดเจนว่าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคดีตามคำสั่งของเครือข่ายราชสำนักและตรงตามพระราชประสงค์ มิใช่ตัดสินคดีตามสำนวน
การยุติการชุมนุมของพันธมิตรก็เป็นไปตามเกมส์ที่เครือข่ายราชสำนักเป็นผู้กำหนดเพื่อให้ประสานกับคำพิพากษายุบพรรค รวมทั้งประสานกับทหารและกลุ่มเนวินที่แปรภักดิ์ไปร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล

7.11 อภิสิทธิ์ รัฐบาลเทพประทาน

ทันทีที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากหน้าที่โดยผลคำพิพากษาให้ยุบพรรค และตัดสิทธิทางการเมือง เครือข่ายราชสำนักภายใต้การนำของพลเอกเปรมก็ทำงานอย่างเร่งด่วน เพื่อหาทางออกที่เป็นไปได้โดยอาศัยกลไกระบบรัฐสภา แม้จะเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามครรลองแต่ก็ยังเสียหายน้อยกว่าที่จะหักด้ามพร้าด้วยเข่า โดยการยึดอำนาจ โดยกดดันทุกพรรคการเมืองให้สนับสนุนนายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ก็ยังเป็นไปไม่ได้ด้วยเพราะเสียงส่วนใหญ่เป็นพรรคพลังประชาชน แม้ถูกยุบพรรคแล้วก็ยังมารวมตัวกันอยู่ที่พรรคเพื่อไทยที่เตรียมจัดตั้งไว้คอยล่วงหน้าแล้ว อำนาจทหารจึงกดดันนายเนวิน ชิดชอบ และนายอนุทิน ชาญวีรกูร (คนสนิทของฟ้าชาย) สองคนที่เป็นกำลังสำคัญในฝ่ายทักษิณ ให้ทรยศต่อทักษิณโดยนำกำลัง ส.ส.ออกมาสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ ภาวการณ์ดังกล่าวจึงเกิดภาพทุลักทุเลทางการเมืองมาก กลายเป็นข่าวเน่าชิ้นใหญ่ส่งกลิ่นเหม็นอบอวลทั่วบ้านทั่วเมืองเมื่อเห็นนายอภิสิทธิ์ (ที่สื่อมวลชนยกย่องว่าขาวสะอาดผุดผ่อง) ยืนกอดกับนายเนวิน(ที่สื่อประนาฌว่าเลวบริสุทธิ์มาโดยตลอด) เพื่อร่วมรัฐบาลกันภายใต้ข่าวลือที่พูดลับๆ กับ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลทุกคนเพื่อให้โอนอ่อนผ่อนตามว่า
“มึงรู้ไหมว่ามึงกำลังสู้กับใคร”
ข่าวลือด้วยวลีสั้นๆ แต่รู้ความหมายดีนี้ได้กดดันให้ทุกฝ่ายจำต้องยอมให้นายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ แล้วเงาของผู้มีอำนาจที่สังคมไทยไม่อาจจะกล่าวถึงได้ ก็ทอดยาวลงมาที่ค่ายทหารโดยมีแกนนำทุกพรรคการเมืองที่ถูก กกต.ตัดสิทธิ์ และห้ามเคลื่อนไหวการเมือง ไปรวมตัวกันเตรียมจัดตั้งรัฐบาลโดยไม่เกรงกลัวอำนาจ กกต.ที่เข้มงวดต่อพรรคไทยรักไทย และ พ.ต.ท.ทักษิณ มาแล้วในอดีต โดยนั่งประชุมร่วมกับนายทหารใหญ่ 3 นาย ผู้ใกล้ชิดเบื้องบนคือ พลเอกประวิช วงศ์สุวรรณ อดีต ผบ.ทบ.พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. (บิ๊กป๊อก) และพลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา เสนาธิการ ซึ่งสื่อมวลชนได้ตั้งฉายาให้กับรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ว่า “รัฐบาลทหาร 3 ป.” คือ ประวิช-ป๊อก-ประยุทธ
จากวลีประวัติศาสตร์ว่า “มึงรู้ไหม มึงกำลังสู้กับใคร” แพร่ไปทั่ว แต่ดูเหมือนว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะไม่รู้ หรือพยายามไม่อยากรู้ว่า “กำลังสู้กับใคร” ดังนั้นศึกช่วงชิง ส.ส.ที่พรรคถูกยุบให้ไปสนับสนุนอภิสิทธิ์ เป็นนายกฯ จึงคุกรุ่นขึ้นด้วยฝ่ายที่ต้องการจัดตั้งรัฐบาลใหม่หรือเครือข่ายราชสำนักได้ทำการเสนอเงินซื้อตัว ส.ส.ออกไปเพื่อให้สนับสนุนนายอภิสิทธิ์ จึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรงด้วยตัวเลขซื้อ ส.ส.สูงถึง 20 ล้านบาทต่อคน
เสียง ส.ส.ฝ่ายใดมากกว่ากันในขณะนั้น สู้กันฉิวเฉียดกันในแต่ละวันไม่แน่นอน ถ้าจะชนะแพ้กันก็ไม่เกิน 10 เสียง ในที่สุดเวลา 4.00 น. เช้ามืดของวันที่ 15 ธันวาคม 2551 ซึ่งจะเป็นการโหวตเสียงเลือกนายกรัฐมนตรีกันในสภา ก็มีการนัดหมายให้แกนนำทุกพรรค และทุกพวกในพรรคที่จะหนุนอภิสิทธิ์ ไปรวมกันที่บ้านพลเอกประวิช วงศ์สุวรรณ เพื่อไปรับฟังเสียงจากโทรศัพท์เปิดลำโพง Speaker Phone ของสตรีผู้สูงศักดิ์ โดยให้ฟังพร้อมกันทุกคนเพื่อความมั่นใจว่าพระองค์ต้องการให้อภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีอย่างแท้จริง มิใช่แอบอ้างกันอย่างเพ้อเจ้อ เพื่อให้ทุกคนไปดำเนินการโหวตในสภาในวันเดียวกันที่สภาจะเปิดประชุมเวลา 9 โมงเช้า อย่างพร้อมเพรียงโดยไม่ต้องสงสัย
พอได้เวลาตี 4 ของวันที่ 15 ธันวาคม ก็มีเสียงของสตรีดังกล่าวที่แกนนำพรรคทุกคนรู้จัก และเข้าใจความหมายดี ก็ดังขึ้นให้สนับสนุนอภิสิทธิ์ เป็นนายกฯ จริง
จากข่าวลับยืนยันว่าเป็นเสียงของท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ รองราชเลขาธิการในสมเด็จพระราชินี เป็นผู้กล่าว และเวลาตีสี่ก็เป็นที่รู้กันว่าเป็นเวลาปกติที่ยังไม่นอนของบุคคลสำคัญท่านนี้
ในที่สุดเสียงในสภาก็อุ้มอภิสิทธิ์ขึ้นเป็นนายกฯ แต่ผู้สื่อข่าวสภากลับให้ฉายารัฐบาลอภิสิทธิ์ว่า “รัฐบาลเทพประทาน”

7.12 คำประกาศสงครามประชาชนของสนธิ

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของนายสนธิ และแกนนำพันธมิตรทุกคนล้วนแล้วแต่มิใช่ผู้จงรักภักดี และมิใช่เป็นผู้มีแนวคิด “กษัตริย์นิยม” แต่อย่างใด และเกือบทั้งหมดของแกนนำพันธมิตรฯ ล้วนแล้วแต่เป็นอดีตผู้ปฏิบัติงานของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่เคยจับปืนสู้รบกับรัฐบาลเผด็จการทหารและศักดินาในเขตป่าเขามาก่อนทั้งนั้น แม้พลตรีจำลอง ศรีเมือง จะมิได้มีภูมิหลังดังเช่นคนอื่นๆ แต่ พลตรีจำลอง ก็มีพฤติกรรมที่แปลกแยกทางสังคมสนับสนุนนักบวชสันติอโศก ซึ่งถือว่าเป็นพุทธศาสนาในนิกายที่แปลกประหลาด และไม่อยู่ในกรอบของเถระสมาคมซึ่งราชสำนักเห็นว่าเป็นอันตรายต่อความมั่นคงแห่งรัฐ และได้เคยสั่งการให้ดำเนินคดี และกำจัดให้สิ้นไปมาแล้วในอดีตแต่ไม่สำเร็จ
การปรากฏตัวของขบวนการพันธมิตรนับแต่เริ่มต้นที่นายสนธิไม่พอใจในตัวทักษิณเป็นการส่วนตัว เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ยอมตอบสนองผลประโยชน์ที่ร้องขอ แล้วก็ขยายตัวออกไปโดยอุปโลกน์ตนเองและพรรคพวกว่าเป็นผู้จงรักภักดีที่จะมากอบกู้ราชบัลลังก์เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้ไม่จงรักภักดี ต้องการจะโค่นล้มระบอบกษัตริย์ และสร้างระบอบสาธารณรัฐขึ้น กลุ่มพันธมิตรได้จงใจที่จะใช้เสื้อยืดสีเหลืองซึ่งเป็นสีวันพระราชสมภพของพระเจ้าอยู่หัวเป็นสัญลักษณ์ และจงใจที่ชัดเจนที่สุดคือ ติดคำว่า “เราจะสู้เพื่อในหลวง” ไว้บนเสื้อสีเหลืองทุกตัวที่ใช้สวมใส่
จากการที่ราชสำนักยินยอมให้นายสนธิ และแกนนำพันธมิตรดำเนินการเช่นนี้ได้โดยไม่มีการดำเนินคดีใดๆ ทางกฎหมาย เช่นในอดีตที่ผ่านมาจึงเท่ากับเป็นการเปิดเผยตัวตนของราชสำนักในการลงสู่สนามการเมืองด้วยตนเอง ซึ่งถือได้ว่าเป็นการแสดงตัวตนอย่างเปิดเผยของราชสำนักเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย และตลอดเวลาของการประท้วงพันธมิตรฯ ในฐานะตัวแทนนายหน้าของราชสำนัก ก็ได้ก่อให้เกิดความเดือดร้อน และความเสียหายให้แก่ประเทศชาติ ประชาชน อย่างเลวร้ายที่สุด ตั้งแต่การปิดถนนราชดำเนินสร้างรัฐอิสระที่ยาวนาน ยึดทำเนียบรัฐบาล ยึดสนามบิน จนก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจการค้าของรัฐอย่างมากและส่งผลกระทบมาจนถึงทุกวันนี้
จากการแสดงตัวอย่างเปิดเผยของราชสำนักในการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของม็อบพันธมิตรครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงแนวคิดทางการเมืองของราชสำนักชัดเจนว่าราชสำนักไม่ยอมรับระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง เพียงแต่ยอมที่จะอยู่กับระบอบประชาธิปไตยที่พิกลพิการแต่เรียกให้ไพเราะว่าระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ หรือนัยหนึ่งก็คือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่ และในการต่อสู้เพื่อพิทักษ์ระบอบประชาธิปไตยที่พิกลพิการนี้ ราชสำนักก็มีแนวทางและยุทธวิธีชัดเจน คือสามัคคีแนวร่วมทุกฝ่ายเพื่อโค่นล้มศัตรูหลัก แล้วจัดระบบอำนาจใหม่ให้อำนาจของตนเข้มแข็งขึ้นแม้แนวร่วมนั้นตัวราชสำนักอาจจะไม่ชอบขี้หน้า เช่น อดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์หรือพวกสันติอโศกก็ตาม เพียงเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายศัตรูที่ตนเองเชื่อว่าร้ายกาจกว่า ซึ่งก็เป็นยุทธวิธีเดียวกันกับในปี 2490 ที่ราชสำนักเอาจอมพล ป.เป็นแนวร่วม (ทั้งๆ ที่ไม่ได้ชอบ) เพื่อสามัคคีกันทำลายนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นศัตรูที่ร้ายกาจกว่าแล้วจึงกลับมาทำลายจอมพล ป.ในภายหลังโดยอาศัยมือของจอมพลสฤษดิ์ ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับกรณีเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ที่ใช้พลังนักศึกษาทำลายจอมพลถนอม แล้วกลับมาทำลายขบวนการนักศึกษาในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 6 ตุลาคม 2519
สิ่งที่ราชสำนักมองไม่เห็นเลยนั่นคือราชสำนักกำลังสร้างบาปในประวัติศาสตร์ และจะต้องรับผลแห่งกรรมนั้น
ด้วยข้อเท็จจริงดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้จึงมีข้อน่าสังเกตว่าภยันตรายที่จะมีต่อราชสำนักนั้น มิได้มาจาก พ.ต.ท.ทักษิณตามที่วิตกกังวลแต่ทางเดียว หากแต่มาจากนายสนธิ, แกนนำพันธมิตรและอีกหลายทิศทางที่แวดล้อมกษัตริย์และบรมวงศานุวงศ์อยู่ กล่าวคือแม้ราชสำนักจะพึงพอใจต่อการโค่นล้มรัฐบาลนายสมัคร และนายสมชาย ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของทักษิณไปแล้ว และได้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯ ซึ่งดูเหมือนว่าจะยุติความขัดแย้งทางสังคมได้แล้ว แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะประวัติศาสตร์ไม่เคยถอยหลังกลับ และการพังทลายของราชวงศ์ทั้งหลายในโลกได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าเกิดจากการกระทำของตัวเองที่หวงแหนอำนาจและไม่ยอมปรับตัว ด้วยเหตุนี้จึงเกิด “ปรากฏการสนธิใหม่” ที่ราชสำนักก็ควบคุมไม่ได้นั่นคือนายสนธิ แกนนำพันธมิตรได้ขยายความขัดแย้ง เพิ่มความรุนแรง โดยยั่วยุให้เกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่มคนเสื้อเหลือง และกลุ่มคนเสื้อแดงมากยิ่งขึ้น โดยเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2552 นายสนธิได้จัดชุมนุมคนเสื้อเหลือง หรือกลุ่มพันธมิตรที่จังหวัดสระบุรี และประกาศออกอากาศทางโทรทัศน์ต่อหน้าสาธารณชนว่าเขาจะทำสงครามประชาชนกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคพวกคนเสื้อแดง โดยป้ายสีว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่มคนเสื้อแดงคือผู้ที่จะทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และราชบัลลังก์ ส่วนพวกของตนคือพวกที่จะปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และราชบัลลังก์ และหลังจากนั้นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2552 ก็เคลื่อนตัวนำกลุ่มพันธมิตรไปบุกจังหวัดอุดรธานี และเตรียมการที่จะบุกไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะในจังหวัดที่ประชาชนส่วนมากนิยม พ.ต.ท.ทักษิณ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ร้อยเอ็ด ยโสธร เป็นต้น
พฤติกรรมอันน่าสงสัยในเจตนาที่จะสุมไฟความขัดแย้งในหมู่ประชาชนของนายสนธิ และแกนนำพันธมิตรนี้ ดูเหมือนว่าราชสำนัก และเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงจะเห็นด้วย หรือไม่เฉลียวใจก็ยากที่จะทราบได้ แต่ที่แน่นอนที่สุดพฤติกรรมของนายสนธิตลอดมาก็คือ
นายสนธิกำลังดึงฟ้าต่ำทำหินแตก
“นายสนธิกำลังหาศัตรูให้สถาบันกษัตริย์ทุกวัน”
เจตนาที่แท้จริงของพันธมิตรคืออะไรกันแน่?

7.13 รวมศูนย์ความขัดแย้งที่กษัตริย์

โดยวัฒนธรรมของราชสำนักการจะกล่าวถึงองค์พระมหากษัตริย์ และรัชทายาท ในชีวิตประจำวันโดยมิได้มีวาระทางการงานใดๆ นั้นเป็นสิ่งที่ไม่บังควร ยิ่งการวิพากษ์วิจารณ์แม้จะกล่าวในทางดีก็ควรต้องใช้ความระมัดระวัง ส่วนการวิพากษ์วิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็นต่อพระองค์ในทางร้ายนั้น นอกจากเป็นการกระทำผิดกฎหมายแล้ว คนไทยแต่โบราณยังถือเป็นบาปในความเชื่อทางศาสนาอีกด้วย แต่ปรากฏว่านายสนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำพันธมิตรฯ ได้นำพระอิสริยยศ และพระราชอำนาจแห่งองค์พระมหากษัตริย์มากล่าวอ้าง เพื่อสร้างประโยชน์ทางการเมืองให้แก่ตนและพรรคพวก
นายสนธิได้พยายามแสดงตัวว่าเป็นผู้จงรักภักดี และพร้อมกันนั้นก็ให้ร้ายต่อพ.ต.ท.ทักษิณ และบุคคลที่ตนเกลียดชังว่าไม่จงรักภักดี อีกทั้งยังได้กล่าวหาผู้คนที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องยุคบาทมายาวนานซึ่งเป็นเสมือนข้าในวังซึ่งไม่มีทางที่จะคิดร้ายต่อกษัตริย์ได้เลย เช่น นายดิสธร วัชโรทัย รองประธานมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ และนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขานุการมูลนิธิชัยพัฒนา นายสนธิก็กล่าวหาให้ร้ายอย่างเสียๆ หายๆ โดยเสมือนหนึ่งมีเจตนาทางการเมืองแอบแฝงที่ต้องการรวมศูนย์ความขัดแย้งในสังคมไทยทั้งหมดไว้ที่องค์พระมหากษัตริย์ โดยทำการยุยงเสมือนหนึ่งพระองค์กำลังมีศัตรูรอบด้าน และศัตรูนั้นก็คือประชาชนของพระองค์เอง และพวกเขาพร้อมจะทำสงครามประชาชนกับพวกของทักษิณ และผู้คิดร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ทุกคน
การประกาศตัวเป็นผู้จงรักภักดีสูงสุดของนายสนธินี้ได้ลามปามไปถึงนายทหารและนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่หลายท่าน โดยกล่าวสบประมาทในการปราศรัยบนเวทีว่า “พวกนี้มียศถาบรรดาศักดิ์ มีสายสะพาย มีเงินเดือนกิน แต่มีความจงรักภักดีสู้พวกเราพันธมิตรไม่ได้........พวกเราคือทหารเสือพระราชินีตัวจริง” ดังนั้นการกระทำของนายสนธิจึงมีลักษณะปลุกปั่นสร้างกระแสให้ผู้คนในบ้านเมืองเกิดความขัดแย้งกันโดยมีประเด็นสำคัญอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ โดยมีฝ่ายที่เกลียด และฝ่ายที่รักคอยห้ำหั่นกันตลอดเวลาทั้งๆ ที่ในอดีตไม่เคยมีเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน ด้วยเหตุนี้การดำรงอยู่ขององค์พระมหากษัตริย์และรัชทายาทจึงกลายเป็นประเด็นที่สังคมมีความสงสัย สนใจ และอยากศึกษาค้นคว้าถึงบทบาททางการเมืองของพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นการก่อความลำบากในการดำรงพระองค์อยู่เหนือความขัดแย้งอย่างยากยิ่ง
หากจะได้ลำดับเหตุการณ์การเคลื่อนไหวของนายสนธิ และแกนนำพันธมิตร ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันก็จะยิ่งเห็นชัดถึงกลอุบายที่ลึกซึ้งที่เคลื่อนไหวจนกระทั่งสมเด็จพระบรมราชินีนาถถลำพระองค์ออกมาสู่ที่โล่งแจ้งท่ามกลางสายตาของคนทั้งโลกที่เพ่งมองด้วยความสงสัยในกรณีเป็นองค์ประธานเผาศพน้องโบว์เมื่อ 13 ตุลาคม 2551 และนับแต่นั้นการอยากรู้อยากเห็นถึงบทบาททางการเมืองของราชสำนักที่เคยปกปิดอยู่หลังฉากซึ่งถือเป็นศาสตร์ทางการเมืองสูงสุดก็ถูกเปิดเผย และเกิดการเรียนรู้ค้นคว้ากันอย่างทั่วด้านและลึกซึ้ง จนเห็นความจริงของระบอบการปกครองในปัจจุบันว่า โดยเนื้อแท้แล้วมิใช่ประชาธิปไตย หากแต่เป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชใหม่
นายสนธิกำลังนำพาปีศาจแห่งการเวลามาทำลายพระราชอำนาจของพระองค์แล้ว

7.14 รัฐบาลเทพประทาน - ทักษิณจะเป็นประธานาธิบดี

เรื่องราวที่ราชสำนักเกลียดทักษิณไม่เพียงแต่ได้กลายเป็นเหยื่ออันโอชะของพันธมิตรฯ เท่านั้น แต่ได้กลายเป็นซุปหูฉลามชามใหญ่ให้แก่พรรคประชาธิปัตย์แกนนำรัฐบาลด้วย
ผู้สื่อข่าวรัฐสภาได้ตั้งชื่อฉายาในโอกาสปีใหม่ให้แก่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์อย่างมีนัยยะสำคัญว่า “รัฐบาลเทพประทาน” ซึ่งตามเหตุผลตามกฎหมายหมายถึง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้ประทาน แต่อีกความหมายหนึ่งซึ่งไม่อาจจะกล่าวในที่สาธารณะได้คือ “ราชสำนักเป็นผู้ประทานรัฐบาลนี้” และนอกจากนี้ยังมีข่าวลือน่าเชื่อถือในลักษณะน้ำเน่าด้วยว่า สายสัมพันธ์ของนายสุเทพในฐานะผู้จัดการรัฐบาลเทพประทานนี้ ได้ต่อเชื่อมถึงสมเด็จพระราชินี ซึ่งได้กลายเป็นศูนย์กลางอำนาจราชสำนักตัวจริงใหม่ในวันนี้แล้ว โดยมีท่านผู้หญิงที่รับใช้ใกล้ชิดพระองค์ที่ชื่อท่านผู้หญิงดารา แฉ่งสมบูรณ์ มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งข้อเท็จจริงเหล่านี้ยากที่ใครจะรู้ได้อย่างแท้จริง แต่พฤติกรรมของบุคคลจะอธิบายถึงข้อสมมติฐานเหล่านั้น ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 นายสุเทพได้แสดงออกอย่างถวายชีวิตเพื่อให้เห็นว่าตนเป็นผู้จงรักภักดีอย่างยิ่งอีกคนหนึ่งที่สำนักพระราชวังจะไว้วางใจให้ดูแลบ้านเมืองได้ เพื่อจะได้เลื่อนฐานะเป็นผู้ใกล้ชิดเบื้องยุคลบาทเสมอเท่ากับนายสนธิ ลิ้มทองกุล โดยนายสุเทพได้แถลงข่าวตอบโต้ใส่ร้ายพ.ต.ท.ทักษิณ ที่โทรศัพท์พูดคุยกับ ส.ส.ของพรรคเพื่อไทยในการสัมมนาที่โรงแรมในเขาใหญ่ว่า “พ.ต.ท.ทักษิณ ได้โฟนอินว่าต้องการจะเป็นประธานาธิบดี” ซึ่งเป็นคำกล่าวที่ถือว่านายสุเทพลงทุนอย่างมาก เพราะนายสุเทพมิได้กล่าวในฐานะส่วนตัว แต่กล่าวในฐานะรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลด้านความมั่นคง จึงเป็นข่าวมีน้ำหนัก ได้รับความสนใจของสังคมมาก และที่สำคัญที่สุดก็คือเป็นคำกล่าวเท็จ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ มิได้กล่าวคำนั้น และต่อมา วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ ก็ตอบกระทู้ถามในสภาโดยยืนยันว่าตนพูดให้สัมภาษณ์จริงตามนั้น เพราะตนเชื่อว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการจะเป็นประธานาธิบดีจริงๆ พร้อมทั้งสาธยายให้เหตุผลประกอบ และปิดท้ายว่าพร้อมจะเป็นจำเลยในศาลหากถูกฟ้องคดี และวันรุ่งขึ้นทนายความของพ.ต.ท.ทักษิณ ก็เข้าแจ้งความจับนายสุเทพจริงๆ
การกระทำของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ และเป็นผู้จัดการใหญ่ของรัฐบาลครั้งนี้ จึงเป็นการยืนยันว่าทุกฝ่ายกำลังใช้ความเกลียดชังที่ราชสำนักมีต่อพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเครื่องมือในการแสวงหาอำนาจ โดยให้ราชสำนักพึงพอใจและสนับสนุนการมีอำนาจของกลุ่มตนต่อไป
การดำรงอยู่ของอำนาจราชสำนักในวันนี้จึงเป็นการดำรงอยู่ในจุดที่อันตราย จากกลุ่มบุคคลผู้หิวกระหายอำนาจแห่งความจงรักภักดี

7.15 บทสรุป จุดจบคือบทเริ่มต้นแห่งยุคสมัย

ยุทธการทำลายอำนาจรัฐบาลทักษิณได้กลายเป็นบาดแผลที่เจ็บปวดที่สุดของราชสำนักอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ มิใช่เกิดจากความไม่ยอมพ่ายแพ้ต่ออำนาจที่ไม่เป็นธรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ เท่านั้นหากแต่เกิดจากความหิวกระหายอำนาจของผู้คลั่งความจงรักภักดีที่ผสมโรงเข้าร่วมโรมรันอย่างมีวาระแอบแฝงอีกทางหนึ่งด้วย ประกอบกับเป็นเวลาแห่งยุคสมัยศตวรรษที่ 21 ที่กระแสประชาธิปไตยเป็นกระแสหลักของโลก อำนาจของประชาชนที่มอบให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณซึ่งอดีตเป็นเพียงกำแพงลม แต่วันนี้มันได้กลายเป็นกำแพงเหล็กที่สร้างความชอบธรรมในสายตาชาวโลกให้แก่พ.ต.ท.ทักษิณไปเสียแล้ว
ในภาวะแห่งความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร ที่ส่งผ่านข่าวสารข้อมูลไปสู่ทุกหัวระแหงได้เพียงกระพริบตา ได้ส่งผลให้การใช้อำนาจของราชสำนักไม่อาจจะปิดบังเป็นความลับได้ดังเช่น อดีตอีกต่อไป ท่ามกลางการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เป็นวัฒนธรรมใหม่ของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งได้หยั่งรากลงสู่ฐานรากของสังคมไทยแล้ว และสิ่งที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ในการมองวิวัฒนาการอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ก็คือกลุ่มบุคคลที่เป็นแกนนำมวลชนพันธมิตรฯ และแกนนำมวลชนฝ่ายต่อต้านพันธมิตรฯ ทั้ง 2 ฝ่ายก็มีลักษณะร่วมกันคือต่างก็เป็นนักเคลื่อนไหวมืออาชีพ ผู้มีอุดมการณ์ที่ต้องการให้เกิดประชาธิปไตยของประชาชน มิใช่ประชาธิปไตยในกรอบอำนาจของสมบูรณาญาสิทธิราช
การเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างสุดโต่งนับแต่เริ่มเกิดวิกฤตการณ์โค่นล้มรัฐบาลทักษิณปลายปี 2548 โดยเนื้อแท้จึงกลายเป็นวิกฤตของสถาบันกษัตริย์ ไม่ใช่วิกฤตของทักษิณ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงเป็นเพียงเงื่อนไขแห่งความเกลียดชังในช่วงเวลาแห่งความวิตกกังวลของการผลัดเปลี่ยนรัชกาลที่ใกล้จะมาถึงเท่านั้น
“ระบอบทักษิณ” ตามคำประกาศของพันธมิตรและพรรคประชาธิปัตย์ จึงกลายเป็นพลังดึงดูดให้ราชสำนักลงมาเปิดตัวทางการเมือง ด้วยยุทธวิธีของนักเคลื่อนไหวมืออาชีพที่มีเป้าหมายอำนาจทางการเมือง ในทิศทางเฉพาะของตน
ชัยชนะของราชสำนัก กรณีการเกิดขึ้นของรัฐบาลอภิสิทธิ์คือจุดเริ่มต้นแห่งความพ่ายแพ้ของราชสำนัก และเป็นบทใหม่ของประวัติศาสตร์
Ù พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรัสแก่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2551
Ù ดูรายละเอียดได้จากพระราชดำรัส พระราชทานแก่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด และพระราชทานแก่ผู้พิพากษาประจำศาลสำนักงานศาลยุติธรรม ที่เข้าเฝ้าในวันเดียวกัน วันอังคารที่ 25 เมษายน 2549 แต่คนละเวลา ภาคผนวกท้ายเล่ม

Ù รายชื่อ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ระบุนี้ มีรูปปรากฏในสื่อมวลชนทางโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดสดในวันที่ 7 ตุลาคม 2551
Ù คำประกาศของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่กล่าวในเวลากลางวันขณะชุมนุมปิดล้อมสภานั้นได้ถูกเปิดเผยในคืนวันเดียวกันนั้นหลังจากแผนการล้มเหลวที่ “คาร์บอม” เกิดระเบิดก่อนเวลา ทำให้แกนนำคนสำคัญเสียชีวิตว่าแท้จริงแล้วเป็นการสร้างเหตุความรุนแรงเพื่อกดดันให้พลเอกอนุพงศ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ต้องทำการยึดอำนาจโดยไม่มีทางเลือกเพื่อโค่นล้มรัฐบาลตัวแทนของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
Ù “น้องโบว์” หรือนางสาวอังขณา ระดับปัญญาวุฒิ ได้เสียชีวิตจากแรงระเบิด (จากผลการพิสูจน์หลักฐานของนักวิชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) บริเวณหน้าที่ทำการกองบัญชาการตำรวจนครบาลที่อยู่ใกล้ๆ กับรัฐสภา และได้กลายเป็นกุญแจดอกสำคัญว่าสมเด็จพระราชินีเป็นผู้เกี่ยวข้องกับม็อบพันธมิตรโดยตรงเมื่อพระองค์ทรงเสด็จไปเป็นประธานเผาศพด้วยพระองค์เอง

6 comments:

  1. คิดไปเองคนเดียวหรือเปล่า พักผ่อนบ้างนะครับ เดี๊ยวเป็นโรคประสาทซะก่อน

    ReplyDelete
  2. อากาศยิ่งร้อน ๆ อยู่

    ReplyDelete
  3. ขอมูลด้านเดียวชัดๆ
    คิดอะไรของมึง ฟังอะไรให้มันจบๆ บ้างนะ

    ReplyDelete
  4. ขอมูลมันเป็นยังไงครับ แล้วไป ขอ มูล ใครเขาหรือครับ

    ขอ ไม่เลือกระวังนะครับมันจะดูไม่ดี เป็นห่วงครับ

    ReplyDelete
  5. มึงเป็นใครอาศัยแผ่นดินท่านอยู่ไม่สำนึกท่านเป็นหน่อเนื้อผู้สร้างชาติไทยท่านมีอำนาจก็ใช้อย่างถูกต้องไม่เคยทำร้ายประเทศของท่านเองพวกมึงจับแก้งกับทักษิณโกงชาติไทยหลายแสนล้านพอได้แล้วปล่อยไทยกูไปเถอะพวกมึงเอาแต่อำนาจเงินเศรฐกิจจอมปลอมสุขที่แท้คือสงบพอเพียงทรัพยากรเหลือน้อยหยุดปั่นเพ้อฝันเถอะ

    ReplyDelete
  6. บุญมานรารักษ์ ชาติไทยไม่ได้เป็นของพระมหากษัตย์คนเดียวนะ และไม่สามารถเป็นชาติไทยได้ถ้าไม่มีประชาชนคอยช่วยเหลือ ก.. ทำคนเดียวได้หรือ? คำก็กล่าวหาว่านายกทักษิณโกง ไหนล่ะ หลักฐาน มีแต่การยัดข้อหา เหมือนที่ยัดข้อหาคนเสื้อแดง ทั่วโลกเขารู้กันไปหมดว่ายุคนี้เป็นยุคของคนเลวครองเมือง ถิ่นกาขาว ทำความชั่วให้เป็นความถูกต้อง พวกที่อวดตัวว่าดีกว่าคนอื่นนักหนาแต่ที่จริงคือเลวมากที่สุด ที มีแต่ในไทยตอนนี้ ส่วนคนไทยในต่างแดนและต่างชาติที่รักความเป็นธรรม ความถูกต้องได้แต่มองไทยด้วยความสงสารคนไทยที่ดีที่ถูกใส่ร้ายป้ายสีและถูกกดขี่ข่มเหง คนที่โกงชาติไม่ใช่นายกทักษิณหรอกนะ แต่เป็นพวกของ บุญมานรารักษ์ ต่างหาก ที่ทำลายชาติจนย่อยยับอยู่ตอนนี้ อย่าพูดคำว่าสงบ พอเพียงเลยนะ ขำนะ เพราะคนที่พูดคำนี้ กลับเป็นกษัตริย์ที่รวยอันดับหนึ่งของโลกแต่ประชาชนยากจนที่สุด ไม่สนใจ กลับสั่งฆ่าเขาเสียนี้ เมื่อเขามาขอความเป็นธรรม ไหนหล่ะคนดีของ พ่อบุญ...จำไว้แผ่นดินนี้เป็นของคนไทยทุกคน ไม่ใช่แผ่นดินของท่าน อะไรของ บุญ...หรอกนะ ใครอาศัยใครอยู่ อย่าพูดแบบพวกเลวจนไม่มีสมองคิดอะไรในทางที่ดีได้เหมือนคนอื่นเขา คนที่เพือฝันเห็นทีจะเป็นพ่อบุญนะ ฝันถึงความเป็นทาสแบบไม่มีที่สิ้นสุด รักการเป็นทาส อย่างไม่รู้จักพอ

    ReplyDelete